Tuesday, December 25, 2012

การขายทอดตลาดทรัพย์สิน

การขายทอดตลาดทรัพย์สิน

การขายทอดตลาดเป็นสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่งแต่เป็นการขายโดยวิธีประมูลราคา ซึ่งผู้ขาย
จะต้องโฆษณาให้บุคคลทั่วไปทราบ ให้ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดต้องทำตามโฆษณาบอก
ขายทรัพย์นั้นๆไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์การขาย
ทอดตลาดจะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้หรือด้วยกริยาอย่าง
ใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด แต่หากว่าเมื่อใดผู้ทอดตลาดเห็นว่า
ราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดนั้น ยังไม่เพียงพอผู้ขายทอดตลาดอาจถอนทรัพย์สินจากการขาย
ทอดตลาดได้และเมื่อมีการถอนทรัพย์สินนั้นจากกการขายทอดตลาด ผู้สู้ราคาก็พ้นความ
ผูกพันในขณะที่ถอนนั้น
ขั้นตอนการดำเนินการก่อนทำการขายทอดตลาด
หลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้เป็นหนี้
ลูกหนี้ เจ้าพนักงานก็จะขออนุญาตศาล ขายทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะตรวจสำนวน
ว่าทรัพย์ใดมีผู้ของดการบังคับคดีหรือมีรายใดที่ร้องขัดทรัพย์ เมื่อตรวจดูเแล้วเห็นว่าไม่มี
ปัญหาก็จะดำเนินการขายโดยทำประกาศแจ้งให้เจ้าหนี้ลูกหนี้และบุคคลทั่วไปทราบ
การจำหน่ายทรัพย์สินของกรมบังคับคดีเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งใน
กระบวนการบังคับคดีเป็นการแปรทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้เป็นเงิน
เพื่อนำมาจ่ายให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง
-ขั้นตอนภายหลังการขายทอดตลาด
ในกรณีอสังหาริมทรัพย์ เมื่อซื้อทรัพย์ได้แล้วจะถือว่าเงินที่ผู้ซื้อวางเป็น
หลักประกันก่อนเข้าสู้ราคาเป็นเงินมัดจำ และผู้ซื้อจะต้องชำระราคาส่วนที่เหลือ
ภายใน 15 วัน ซึ่งในกรณีที่มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถชำระราคาได้ทันภายใน
กำหนดดังกล่าว เช่น อยู่
ระหว่างขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ผู้ซื้อสามารถขอขยายระยะเวลาชำระ
เงินส่วนที่เหลือออกไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนด 15 วัน
โดยให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนครบกำหนด 15 วัน ดังกล่าว


อย่างไรก็ตามเนื่องจากการที่มีการแก้ไขเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับการขายทอดตลาด ซึ่งผู้มี
ส่วนได้เสียอาจใช้สิทธิค้านราคา ทำให้ผู้เสนอราคาสูงสุดต้องผูกพันกับการเสนอราคา
ดังกล่าวออกไปอีก 30 วัน ทำให้ผู้เสนอราคาสูงสุด ยังไม่ใช่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ในวันนั้นแต่ผู้
เสนอราคาสูงสุดยังคงต้องทำสัญญาซื้อขายไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยวางเงินมัดจำ
ไว้เช่นเดียวกับกรณีเป็นผู้ซื้อได้และจะต้องรอผลการขายในครั้งต่อไป ซึ่งในการขายครั้ง
ต่อไป ผู้เสนอราคาสูงสุดมีสิทธิ์สู้ราคากับผู้เสนอราคารายอื่นๆเช่นกัน สำหรับกรณีของ
อสังหาริมทรัพย์หากมีผู้คัดค้านราคา ผู้เสนอราคาสูงสุดจะต้องผูกพันกับการเสนอราคา
และต้องวางเงินมัดจำเช่นเดียวกัน

เมื่อผู้ที่ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบหนังสือและ
เอกสารการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อไปดำเนินการ ณ สำนักงานที่ดิน ซึ่งผู้ซื้อจะต้องจ่าย
ค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยสามารถนำใบเสร็จรับเงินมา
ติดต่อขอรับภาษีคืนภายใน 20 วัน นับแต่วันชำระครบถ้วน หากไม่มารับหนังสือโอน
กรรมสิทธิ์หรือขอรับภาษีคืนภายในกำหนดจะถือว่าไม่ติดใจขอรับภาษีคืน ส่วนผู้มีส่วนได้
เสียหากจะคัดค้านการขอคืนภาษี ต้องคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันชำระราคาครบถ้วน
ผู้ซื้อจะได้รับเงินภาษีคืนช้าหรือเร็วขั้นอยู่กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการขาย
เช่นมีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายหริอไม่


การขอคืนเงินประกันตัวผู้ต้องหา




เมื่อคดีถึงที่สุดนายประกันสามารถยื่นคำร้องขอรับหลัประกันคืน
โดยปฏิบัติดังนี้

(1) นายประกันรับเงินประกันด้วยตนเอง ให้แนบเอกสารประกอบดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนา
- ใบเสร็จรับเงินวางประกัน (ฉบับสีขาว) เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา
(2) กรณีนายประกันมอบฉันทะให้ผู้อื่นรับแทน ให้แนบเอกสารประกอบ ดังนี้
- ใบมอบฉันทะให้รับเงินแทน โดยลงลายมือชื่อทั้งผู้มอบฉันทะและผู้รับมอบฉันทะ
ครบถ้วน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบฉันทะ พร้อมรับรองถูกต้อง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนของผู้รับมอบฉันทะพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- ใบเสร็จรับเงินวางประกัน (ฉบับสีขาว) เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการค้นหาสำนวน

Wednesday, November 21, 2012

สิทธิประกันตัวในคดีอุกฉกรรจ์



สมชาย ปรีชาศิลปกุล

  การประกันตัวในคดีอาญาถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่ง เนื่องจากการกล่าวหาว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดในทางอาญา
   หรือ ไม่ก็ยังถือเป็นขั้นตอนในเบื้องต้นของกระบวนการยุติธรรม บุคคลนั้นยังมีสถานะเป็นผู้บริสุทธิ์ตามกฎหมาย ตราบจนกระทั่งจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดตัดสินลงโทษบุคคลดังกล่าว
   การ ประกันตัวจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกบุคคลไม่ให้ ได้รับความเสียหายในระหว่างที่ยังไม่ได้ถูกตัดสินว่าเป็นผู้กระทำความผิด ในอดีตที่ผ่านมา ได้เคยมีบุคคลจำนวนไม่น้อยซึ่งถูกกล่าวหาและดำเนินคดีโดยที่ไม่ได้รับการ ประกันตัว แต่ต่อมา ในภายหลังศาลได้มีคำตัดสินยกฟ้องว่ามิได้กระทำความผิด
   ซึ่ง แม้ว่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์จากคำตัดสินของศาล แต่ก็ต้องติดคุกอยู่ในระหว่างขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเป็นระยะเวลานาน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมสร้างความเสียหายแก่บุคคลนั้นอย่างสำคัญ
  ไม่ ว่าจะเป็นในแง่ของการสูญเสียโอกาสด้านต่างๆ ความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ ผลกระทบที่มีต่อครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รัก เสรีภาพในการแสวงหาความรื่นรมย์ตามปกติที่บุคคลทั่วไปพึงมี หรือความยากลำบากที่ต้องถูกกักกันเอาไว้
   ด้วย การตระหนักถึงผลกระทบในด้านลบที่มีต่อบุคคลอย่างสำคัญ จึงทำให้มีความพยายามที่จะปรับปรุงให้เกิดสิทธิในการประกันตัว ซึ่งจะช่วยลดทอนปัญหาดังกล่าวให้น้อยลง การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในห้วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนสิทธิในการประกันตัวให้เข้มแข็งมากขึ้น บนหลักการที่ว่าการประกันตัวต้องเป็นหลักทั่วไปที่บุคคล ซึ่งต้องเป็นผู้ต้องหาสามารถได้รับอย่างทั่วถึง การไม่ให้ประกันตัวจะเป็นข้อยกเว้นในกรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าหากอนุญาต แล้วจะนำมา ซึ่งปัญหาต่อการดำเนินคดีที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า เช่น การหลบหนีจากการประกันตัว การเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือคุกคามกับพยานหลักฐานในคดี เป็นต้น
   ถึง แม้จะมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนหลักการเรื่องการประกันตัวเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญประการหนึ่งในการประกันตัว ที่ปรากฏให้เห็นอยู่อย่างบ่อยครั้ง ก็คือ การตกเป็นผู้ต้องหาในคดีซึ่งมักพิจารณาว่าเป็นคดีที่มีโทษรุนแรงหรือส่งผล กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างกว้างขวาง ผู้ซึ่งกลายเป็นผู้ต้องหามักจะไม่ได้โอกาสในประกันตัว
   การ ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวในคดีประเภทนี้ ในเบื้องต้นมักเป็นคดีอุกฉกรรจ์ดังเช่นใน คดีการฆ่าผู้อื่นอย่างเหี้ยมโหดหรือคดียาเสพติดซึ่งมีหลักฐานเป็นจำนวน มหาศาล และคดีอีกประเภทหนึ่งมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันประเด็นทางการเมืองอย่าง ใกล้ชิด เช่น ผู้ต้องหาในคดีกระทำความผิดฐานก่อการร้ายหรือความผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีลักษณะดังกล่าวนี้มักไม่ประสบความ สำเร็จเท่าใด ด้วยเหตุผลว่าถูกกล่าวหาในการกระทำซึ่งเป็นความผิดรุนแรง
   คำถามสำคัญ ก็คือ ในกรณีของคดีที่ข้อกล่าวหาซึ่งมีความรุนแรงนั้นมักจะมีการพิจารณาอย่างเข้มงวดมากกว่าปกติในขั้นตอนการประกันตัว
  มอง ในด้านของเจ้าหน้าที่รัฐ การให้ความสำคัญต่อการประกันตัวบุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีที่รุนแรงก็จะ เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ไม่ให้หลบหนีและหากมีการตัดสิน ลงโทษก็จะสามารถลงโทษบุคคลดังกล่าวได้ทันที
  แต่ ในทางตรงกันข้าม การตกเป็นผู้ต้องหาในคดีรุนแรงไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องกระทำความ ผิดเสมอไป เฉพาะอย่างยิ่งหากคิดในเงื่อนไขของสังคมไทยจะพบว่าบุคคลสามารถตกเป็นผู้ต้อง หาในคดีอุกฉกรรจ์ได้อย่างไม่ยากเย็น มีผู้คนจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ตกอยู่ในกระบวนการยุติธรรม อย่างยาวนานในข้อหาเป็นผู้ก่อความไม่สงบโดยไม่ได้รับการประกันตัว และในท้ายที่สุด คดีก็ยุติลงด้วยการยกฟ้องจากศาล
  หรือในกรณีมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายก็เช่นเดียวกัน ด้วยการริเริ่มคดีที่เปิดกว้างให้กับบุคคลใดก็ได้ในการนำคดีไปสู่กระบวนการ ยุติธรรม เป็นให้บุคคลจำนวนหลายร้อยคนตกเป็นผู้ต้องหาตามมาตรานี้ และเนื่องจากมาตรานี้เป็นส่วนหนึ่งของหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่ง ราชอาณาจักรก็ทำให้กลายเป็นผู้ต้องหาในคดีที่มีความรุนแรง
  สิทธิ การประกันตัวจึงเป็นสิ่งที่มักถูกพิจารณาอย่างเข้มงวด โดยอาจละเลยต่อหลักการประกันตัวว่าบุคคลสามารถเข้าถึงสิทธินี้ได้ตราบยังที่ ยังไม่ชัดเจนว่าจะส่งผลร้ายอย่างรุนแรงต่อคดี
  ท่าม กลางความขัดแย้งที่มีอยู่อย่างกว้างขวางในสังคมไทยและมีบุคคลจำนวนมากต้องตก อยู่ในอุ้งมือของกระบวนการยุติธรรม ในหลายประเด็นยังอาจเป็นข้อถกเถียงซึ่งต้องใช้เวลาและหาข้อยุติถึงความเหมาะ สมว่าเนื้อหาของกฎหมายนั้นๆ จะมีสาระอย่างไรบ้าง
  แต่ เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นระหว่างผู้คน ฝ่ายต่างๆ ก็คือ การยืนอยู่บนหลักการพื้นฐานสำคัญของระบอบเสรี/ประชาธิปไตย สิทธิในการประกันตัวก็นับเป็นหลักการพื้นฐานประการหนึ่ง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการต่อสู้และโต้แย้งกันระหว่างผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าว หาที่เท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น
  การ จะไม่ให้ประกันตัวบุคคลใดจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบบนหลักฐานที่ ชัดเจนว่าจะส่งผลกระทบต่อคดีนั้นๆ ลำพังเพียงข้อกล่าวหาที่รุนแรงเพียงอย่างเดียวยังไม่อาจเพียงพอต่อการปฏิเสธ สิทธินี้ มิฉะนั้นแล้วจะเท่ากับว่าบุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอุกฉกรรจ์ได้กลายเป็น บุคคลที่ไร้สิทธิในการประกันตัวอย่างสิ้นเชิง อันหมายถึง การทำให้บุคคลต้องถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานไปแม้ว่ายังอยู่ในฐานะของผู้ บริสุทธิ์ก็ตาม

Wednesday, October 31, 2012

คัมภีร์ "โพสะราดและสังคะปะกอน" (7) บทลงโทษหญิงหลายใจ ชายชู้ และสามีเก่า

คัมภีร์โพสะราดและสังคะปะกอนวันนี้  ผมยังเลือกบทที่น่าสนใจว่าด้วยสตรีในกฎหมายลาวโบราณอยู่นะครับ  ครั้งก่อนเป็นการกล่าวว่าด้วยลักษณะของ "เมีย 12 จำพวก " ซึ่งนับว่าเป็นลักษณะที่มองตามสายตาปัจจุบันพวกนางน่าสงสาร  น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อย                                            
วันนี้ว่าด้วย "โทษ หญิงเล่นชู้" (น.13) ลองมาดูกันว่าสาระจะน่าสนใจเพียงใด 
              

http://ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/000/155/688/original_SANY0271.jpg?1285874893


แบ่ง ศึกษาเป็นวรรค ๆ ดังนี้ครับ
1. โทดยิงหลิ้นซู้...จะก่าวยิงแพดสะหยาโดยมาดตา 6 สะถาน  นอกใจพานหลิ้นซู้ผัวบ่ยู่ตามซายมาเถิงเคหาหน อันหนึ่ง :  โทษหญิงเล่นชู้... จะกล่าวหญิงแพศยาโดยมาตรา 6 สถาน  นอกใจพาลเล่นชู้ผัวบ่อยู่ตามชายมาถึงเคหาหน อันหนึ่ง : ศัพท์  1) หลิ้น : เล่น  2) เถิง : ถึง
2. ยิงลนลักหลอนแบะซายนอนฮามที่วันเดียวมี  3  ซู้ อันหนึ่ง : หญิงดิ้นรน ลักลอบแบะท่านอนกับผู้ชายไม่เป็นที่วันเดียวมี 3 ชู้รัก อันหนึ่ง :  ศัพท์  1) หลอน : แอบ  ทำอะไรลับหลัง   2) ฮามที่ :  ไม่เป็นที่(ฮาม: เหินห่าง  ว่าง  เว้น  ในที่นี้คือ ไม่เป็นที่)  3) ซู้ภาษาอีสาน/ลาว มีความหมาย   2  อย่าง  คือ  แปลว่าคู่รัก/คนรัก  และอีกอย่างแปลว่าชู้ที่ลักลอบกัน แบบภาษาไทย 
3. ฮู้ปับได้เอาสินไหม  สองถ้า  หนึ่งราคารับจ้าง อันหนึ่ง : (ถ้า)รู้ ปรับเอาสินไหมได้  สอง(ถ้วน : เท่า?) เท่า (หนึ่ง) ของราคารับจ้าง (หญิงที่มีหลายชู้เพื่อแลกกับเงิน?)
4. บ่ว่างเว้นซั่วนอกใจผัวสอง กํเทียวขํขับลำท่านให้จำจงแน่ : ไม่ว่างเว้นชั่วนอกใจมีผัวสอง  เที่ยวขอ(เงิน) จากผู้ชาย (โดย) ขับร้องหมอลำ  ให้จดจำ(หญิงผู้นั้น)ให้แน่ชัด
5. เหล่านี้แหละแพดสะหยาถ้าพิจาระนา  เป็นสัดให้ยิงทัดดอกสะบา  ฮ้อยมาลาใส่สะแอวไค้วปะนาแอกพาดบ่าทั้งยิงซาย  เหมือนควายเทียมไถตะเวนไป  3  วัน : เหล่านี้แหละหญิงแพศยาถ้าพิจารณาเป็นความสัตย์  ให้หญิงนั้นทัดดอกชบา  ร้อยมาลาใส่รอบเอว  ไขว้แอกทำนาแยกพาดบ่าทั้งหญิงและชาย(ชู้)  เหมือนควายเทียมไถตระเวณไป  3  วัน ศัพท์  1) สะแอว : เอว  บั้นเอว  2) ปะ : แยก  ทิ้ง  เช่น  ผัวปะเมีย (ออกเสียง ผัวป๋าเมีย) : ผัวแยกทาง/หย่าร้างกับเมีย
6. ถ้าผัวมันยังฮักไค่จะหนีให้ปะจาน ฮักยิงพานอีกเล่า  ท่านให้เอาซายผัวเทียมเป็นงัวข้างหนึ่ง  เพาะดื้ดึงหลงไหล  จะปับซู้นั้นมิได้  ให้แต่โทดปะจานแล : ถ้าผัวมันยัง รักใคร่  จนฝ่ายหญิงจะคิดหนี (กลับไปหาผัวเก่า) ให้ประจาน  ผัวเก่ายังรักหญิงพาลนี้อีกเล่า  ท่านให้เอาชายผัวเทียมเป็นวัวอีกข้างหนึ่งเพราะดื้อดึงหลงไหลเมียเก่า อยู่  จะปรับชู้นั้นมิได้  ให้แต่โทษประจาน(ชู้) แล
                                  


http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRLSe1yLRcy8A_9ZagCzyQZXebZvBqDO4CoYpiRAAHTzIyQD49kvg-XRnSy



จะเห็นได้ว่าในกฎหมาย มองว่าการประพฤติผิดศีลกาเมสุมิฉาจารของหญิงเป็นความผิดร้ายแรงมาก  ถึงขนาดว่าไม่ยอมให้สามีเก่าของนางยกโทษหรือให้อภัย  ถ้าสามียังรักอยู่ก็ให้ลงโทษให้ร่วมกับเมียแบกแอกดั่งวัวเทียมเกวียน ตระเวณประจานตนเอง  และทำให้ชายชู้ได้รับโทษเบาลง  ไม่ต้องโดนปรับไหมอะไร  แอกก็ไม่ต้องแบก  เพียงแต่ถูกกล่าวประจานเท่านั้น 
น่าเห็นใจใครบ้างครับระหว่าง "หญิงแพศยาโดยมาตรา 6 สถาน" กับชายผัวเก่าซึ่งหากยังรักและให้อภัยเมียก็ต้องโดนกฎหมายเอาผิดลงโทษ  ขณะที่ชายชู้ไม่ต้องโดนปรับแค่ถูกประจานเท่านั้น 
อย่างไรก็ตาม  เหตุผลและบริบทของสังคมโบราณก็ย่อมมีเหตุมีผลในสังคมยุคนั้น ๆ ยากที่เราจะเข้าใจ  และไม่น่าเชื่อ  เช่นเดียวกันหากข้ามเวลาแบบโดราเอม่อนมาได้  คนโบราณก็คงไม่เชื่อเหมือนกันว่ามาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมของการมี รักสัมพันธ์ของคนในสังคมปัจจุบัน  จะเป็นดังที่เราเห็นเช่นทุกวันนี้..ได้อย่างไร...
 หมายเหตุ  ผมขอเปลี่ยนชื่อตอนจาก  ชะตากรรม ของ "หญิงแพศยาเล่นชู้"  มาเป็น  บทลงโทษหญิงหลายใจ  ชายชู้  และสามี  เมื่อ 5 มี.ค. 51  05.10 น.

กฎหมาย ตราสามดวง

กฎหมายตราสามดวง

กฎหมายตราสามดวง คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่อง จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่า ที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อ จุลศักราช 1166 ตรงกับ พ.ศ. 2347 โปรด ให้เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามชุด แต่ละชุดประทับตรา 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศ) ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง
กฎหมาย ตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้น โดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู จ.ศ.1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปีเถาะ จ.ศ. 1169 (พ.ศ. 2350) ข้อแตกต่างระหว่าง ฉบับหลวง และฉบับรองทรง ก็คือ ฉบับรองทรงจะไม่มีตราสามดวงประทับไว้ และฉบับหลวงจะมีอาลักษณ์สอบทาน 3 คนส่วนฉบับรองทรงมีอาลักษณ์สอบทานเพียง 2 คน สำหรับกฎหมายตราสามดวง ฉบับรองทรงนี้ ปัจจุบันนี้พบเพียง 18 เล่ม โดยเก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ 17 เล่มและที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย สำนัก งานอัยการสูงสุด 1 เล่ม
 
ตราสามดวง คือ
(1) ตราพระราชสีห์ - สมุหนายก
(2) ตราพระคชสีห์ - สมุหพระกลาโหม
(3) ตราบัวแก้ว - เจ้าพระยาพระคลัง
 
กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในระยะแรกของกรุงรัตน โกสินทร์นั้นก็คือกฎหมายที่ใช้อยู่เมื่อครั้ง กรุงศรีอยุธยา โดย อาศัยความจำ และการคัดลอกมาตามเอกสารที่หลงเหลือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงทำการวินิจฉัยเรื่องต่างๆ โดยอาศัยมูลอำนาจอธิปไตยของ พระองค์เองบ้าง อาศัยหลักฐานที่ได้จากการสืบสวน ฟังคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บ้างจนกระทั่งได้เกิดคดีขึ้นคดีหนึ่งและมีการ ทูลเกล้าฯถวายฎีกา คดีที่เกิดขึ้นนี้แม้เป็นคดีฟ้องหย่าของ ชาวบ้านธรรมดา แต่ที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์กฎหมาย ก็คือผลจากคดีนี้เป็นต้นเหตุให้นำมา ซึ่งการชำระสะสางกฎหมายในสมัยนั้น เป็นคดีที่อำแดงป้อม ฟ้องหย่านายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ทั้งๆ ที่ตนได้ทำชู้ กับ นายราชาอรรถ และศาลได้พิพากษาให้หย่าได้ตามที่อำแดงป้อมฟ้อง โดยอาศัยการพิจารณาคดีตามบทกฎหมาย ที่มีความว่า “ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้”
เมื่อ ผลของคดีเป็นเช่นนี้ นายบุญศรีจึงได้นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าถวายฎีกา ต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นด้วยกับฎีกาว่าคำพิพากษาของศาลนั้น ขัดหลักความยุติธรรม ทรงสงสัยว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะถูกต้องตรงตามตัวฉบับกฎหมายหรือไม่ จึงมีพระบรมราชโองการ ให้เทียบกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ศาลใช้กับฉบับที่หอหลวงและที่ห้องเครื่อง แต่ก็ปรากฏ ข้อความที่ตรงกัน เมื่อเป็นดังนี้ จึงทรงมีพระราชดำริว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสม อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการคัดลอก สมควรที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายใหม่ เหมือนการสังคายนา พระไตรปิฎกจากคดีอำแดงป้อมดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงให้เห็นหลักกฎหมายสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของ กฎหมายที่ว่าแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ ต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามไม่มีพระราชอำนาจที่จะแก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎหมาย ตามอำเภอใจ
ใน คดีนี้แม้จะทรงเห็นว่าคำตัดสินนั้นไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม อันอาจเนื่องมาจากการคัดลอกกฎหมายมาผิด ก็ชอบที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายให้กลับไปสู่ความถูกต้องเหมือนการ สังคายนาพระไตรปิฎก ดัง พระราชปรารภที่ว่า “ให้กรรมการชำระพระราชกำหนดบทพระอายการ อันมีอยู่ในหอหลวง ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ไปให้ถูกถ้วน ตามบาฬีและเนื้อความ มิให้ผิดเพี้ยนซ้ำกัน ได้จัดเป็นหมวด เป็นเหล่าเข้าไว้ แล้วทรงอุตสาห ทรงชำระดัดแปลง ซึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้”
§ กฎหมายตรา สามดวงมีลักษณะเป็นกฎหมายของนักกฎหมาย (Juristenrecht) กล่าวคือ กฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ของกฎหมายตราสามดวงโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระธรรมศาสตร์ ที่มีลักษณะทั่วไปและมีฐานะสูงกว่าจารีตประเพณี มีการจัดระบบกฎหมายที่เป็นระบบและมีการใช้เหตุผลของนักกฎหมายปรุงแต่ง
§ กฎหมายตรา สามดวงมีลักษณะที่เป็นกฎหมายธรรมชาติ ทุกคนแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
§ ไม่มีการ บัญญัติโดยแท้ บทกฎหมายใหม่นี้จึงเป็นผลงานของ นักกฎหมาย อันได้แก่ ศาลและพระ มหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นนักกฎหมายด้วย ไม่ใช่กฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค โดยกระบวนการนิติบัญญัติอย่างปัจจุบัน
§ มีความ นับถือตัวบทกฎหมาย เชื่อว่าไม่มีใครสามารถแก้กฎหมายได้เพราะกฎหมายไม่ใช่สิ่งที่คนสร้างขึ้น แม้แต่กษัตริย์ก็แก้ไม่ได้ หากเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสมจะใช้การชำระสะสางไม่ใช่ยกร่างขึ้นใหม่หรือ แก้ไขกฎหมายเดิม
§ ไม่ใช่ ประมวลกฎหมายที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านเพราะเป็นที่รวมของบทกฎหมายที่ปรุง แต่งโดยนักกฎหมายและจารีตประเพณีที่ สำคัญเท่านั้น การเรียกว่าประมวลกฎหมายตราสามดวงนั้นเป็นเพียงการใช้คำว่าประมวลเพื่อ ยกย่องเท่านั้น
§ เป็นกฎหมาย ที่ใช้เป็นคู่มือในการชี้ขาดตัดสินคดีเพราะเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการ พิจารณาพิพากษาคดี และใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นหลัก ไม่ใช่กฎหมายที่เขียนขึ้นในลักษณะตำรากฎหมาย
 
การเลิกกฎหมายตราสามดวง
กฎหมายตรา สามดวงได้เป็นกฎหมายหลักของประเทศที่ใช้บังคับมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะเวลานานถึง ๑๐๓ ปี จนกระทั่งมีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลตามแบบประเทศมหาอำนาจยุโรป จึงได้เลิกใช้กฎหมายตราสามดวง
 
เรียบเรียงโดย Arayanews

กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127

กฎหมายลักษณอาญา  ร.ศ. 127


            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ ทรงพระราชดำริว่า

 พระราช กำหนดกฎหมายสำหรับพระราชอาณาจักรสยามนี้  บรม กษัตริย์แต่โบราณสมัย
ได้รับ คัมภีร์พระธรรมศาสน์กองมนูสาราจารย์  ซึ่งเป็นกฎหมาย ในมัชฌิมประเทศมาเป็นหลักของ
กฎหมายแล้ว
            แลเมื่อมีเหตุอันใดเกิดขึ้น  อัน จะตัดสินพระธรรมศาสน์มิได้ โดยกฎหมายพระธรรมศาสน์
ไม่กล่าวถึงก็ดี  หรือโดยประเพณีแลความนิยมในสยามประเทศผิดกันกับมัชฌิม ประเทศก็ดี  บรม
กษัตริย์แต่ปางก่อน ก็ทรงตั้งพระราชกำหนดบทพระอัยการขึ้นไว้เป็นแบบแผนสำหรับพิพากษา
เหตุแลคดีอย่างนั้น ๆ ที่จะมีขึ้นในภายหน้า พระราชกำหนดบทพระอัยการนี้ ก็เปนกฎหมายสำหรับ
พระราชอาณาจักรเพิ่ม เติมขึ้นโดยลำดับมา  และพระราชกำหนดบทพระอัยการที่ ได้ตั้งมาเป็น
ครั้งเป็นคราวนี้  เมื่อ ล่วงเวลาช้านานเข้า ก็มีมากมายซับซ้อนกันเกิดลำบากแก่การที่จะพิพากษา
อรรถคดี  โดยการบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาพ้นเหตุ  ล่วง สมัยที่จะต้องใช้พระราชกำหนดบทพระ
อัยการที่กษัตริย์ พระองค์แต่ก่อน ๆ  ได้ทรงบัญญัติไว้หลายชั่วอายุคน แล้วบ้าง  หรือโดยเหตุที่
พระราชกำหนดบทพระ อัยการเก่าขัดขวางกับที่บรมกษัตริย์ภายหลัง  ได้ทรง ตั้งขึ้นบ้าง  ในเวลา
เมื่อถึงความลำบากมี ขึ้นเช่นนี้   พระเจ้าแผ่นดินจึงโปรดให้ประชุมลูกขุน ณ ศาลาอันเป็นเจ้า
กระทรวงฝ่ายธุรการ พร้อม ด้วยลูกขุน ณ ศาลหลวงอันมีตำแหน่งในฝ่ายตุลาการตรวจชำระพระราช
กำหนดกฎหมาย  แลทรงพระราชวินิจฉัยให้ยกเลิกบทกฎหมายที่พ้นเวลาแลมิควร จะใช้ออกเสีย
คงไว้แต่ที่ยังใช้ได้  จัด ระเบียบเข้าเป็นลักษณะมีหมวดหมู่แลมาตราให้คนทั้งหลายรอบรู้บท
กฎหมายง่ายขึ้น  แลเป็นความสะดวกแก่การพิพากษาอรรถคดีทั้งปวงทั่วไป  เป็นราชประเพณีมี
สืบมาแต่โบราณทีเดียว ดังนี้  แลการตรวจชำระพระราชกำหนด กฎหมายดังว่ามานี้  ครั้งหลังที่สุด
ได้มีเมื่อจุลศักราช 1166  ปีชวด ฉศก รัตน โกสินทร์ศก 23  ในรัชชกาลแห่งสมเด็จพระบรม
ไปยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ตั้งแต่นั้นมาจน บัดนี้นับได้ 103 ปี  ยังหา
ได้ตรวจชำระพระราช กำหนดบทพระอัยการให้เรียบร้อยไม่  ก็เป็นธรรมดาอยู่ เองที่พระราชกำหนด
บทพระอัยการ  อัน พ้นความต้องการในสมัยนี้แลที่ขัดขวางกันเองจะมีอยู่เป็นอันมาก  ทรงพระราช
ดำริเห็นว่า  ถึง เวลาสมควรที่จะต้องตรวจชำระพระราชกำหนดกฎหมายอยู่ด้วยเหตุนี้แล้วประการ
หนึ่ง

            อีกประการหนึ่งในระหว่างตั้งแต่จุลศักราช 1217 ปีเถาะ สัปตศก รัตนโกสินทร์ศก 74
กรุงสยามได้ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี กับนานาประเทศแลหนังสือสัญญาทั้งปวงนั้น  ได้
ทำตามแบบหนังสือสัญญา ที่ฝรั่งได้ทำกับประเทศทางตวันออก  คือประเทศเตอรกี ประเทศจีน
แลประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น  มีข้อความอย่าง เดียวกันที่ยอมให้กงสุลมีอำนาจตั้งศาลพิจารณาแล
พิพากษาคดีตามกฎหมาย ของเขา  ในเมื่อคนในบังคับของชาตินั้น ๆ ที่เข้ามาอยู่ในประเทศทาง
ตะวันออกเป็นความกันขึ้นเอง  หรือเป็นจำเลยของคนในบังคับของบ้านเมือง  ลัก ษณการอย่างนี้แม้
จะมีประโยชน์ที่บรรเทาความรับผิดชอบ แห่งเจ้าของประเทศได้อยู่บ้างในสมัยเมื่อแรกทำหนังสือ
สัญญา  เวลามีชาวต่างประเทศพึ่งเข้ามาค้าขาย  แต่ ต่อมาเมื่อการค้าขายคบหากับนานาประเทศ
เจริญแพร่หลาย  มีชาวต่างประเทศมาตั้งประกอบการค้าขายในพระราชอาณาจักร มากขึ้น  ความ
ลำบากในเรื่องคดีที่ เกี่ยวข้องกับคนในบังคับต่างประเทศ  ก็ยิ่งปรากฏเกิด มีทวีมากขึ้นทุกที
เพราะเหตุที่คนทั้งหลายอันประกอบการสมาคม ค้าขายอยู่ในประเทศบ้านเมืองอันเดียวกัน  ต้องอยู่
ในอำนาจศาลแลในอำนาจ กฎหมายต่าง ๆ กันตามชาติของบุคคล  กระทำให้เป็นความ ลำบากขัดข้อง
ทั้งในการปกครองบ้านเมือง  แลกีดกันประโยชน์ของคนทั้งหลายตลอดจนชนชาติต่างประเทศนั้น ๆ
เองอยู่เป็นอันมาก  ความลำบากด้วยเรื่องอำนาจศาล กงสุล  เช่น ว่ามานี้ย่อมมีทุกประเทศที่ได้ทำ
สัญญาโดยแบบอย่างอัน เดียวกัน  แลต่างมีความประสงค์อย่างเดียวกันที่จะหา อุบายเลิกล้าง  วิธี
ศาลกงสุลต่างประเทศ  ให้คนทั้งหลายไม่ว่าชาติใด ๆ บรรดาอยู่ในประเทศนั้น ๆ ได้รับประโยชน์อยู่
ในอำนาจกฎหมายแลอำนาจศาลสำหรับบ้านเมือง แต่อย่างเดียวทั่วกัน 

 ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มริคิดอ่านจัดการเรื่องนี้ก่อน ประเทศอื่น  โดยวิธีเลือกหาเนติบัณฑิตต่างประเทศที่ ชำนาญระเบียบบทกฎหมายฝรั่ง  มารับราชการเป็นที่ ปรึกษาทำการพร้อมด้วย
ข้าราชการญี่ปุ่น  ช่วย กันตรวจชำระกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น  จัดเข้าระเบียบ เรียบเรียงให้เป็นแบบ
แผนวิธีทำนองเดียวกับกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ประเทศฝรั่งโดยมาก  ทั้งจัดการศาลยุตติธรรม  ให้เป็นไป
ตามสมควรแก่ปรัตยุบันสมัยทั่วไปในประเทศ ญี่ปุ่น  เมื่อประเทศทั้งปวงแลเห็นว่ากฎหมายแลศาลของ ญี่ปุ่นเป็นระเบียบแบบแผนเรียบร้อยดีแล้ว  ก็ยอมแก้ สัญญายกเลิกอำนาจศาลกงสุลให้คนในบังคับต่างประเทศอยู่ในอำนาจกฎหมายแลศาล ญี่ปุ่นตั้งแต่นั้นมา  มีประเทศญี่ปุ่นที่เลิกอำนาจ ศาล กงสุล  ต่างประเทศได้ด้วยอุบายที่จัดการดังกล่าว มานี้เป็นปฐม   แลเป็นทางที่ ประเทศอื่น ๆ อันได้รับความลำบากอยู่ด้วยวิธีศาลกงสุลต่างประเทศเข้ามาตั้งในบ้านเมือง  จะดำเนิรตามให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกันได้  ด้วยเหตุเหล่านี้  จึงได้โปรดให้ หาเนติบัณฑิต ผู้ชำนาญกฎหมายต่างประเทศเข้ามารับราชการหลายนาย  มีมองซิเออร์ โลแลงยัคแมงส์  ผู้ได้เคยเป็นเสนาบดีในประเทศเบลเคียม
(ผู้เขียนเข้า ใจว่าเป็น ประเทศเบลเยี่ยม)  ที่ได้มารับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาอภัยราชานั้น เป็นต้น 

                                               
แลเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 116  ได้ ทรงพระกรุณาโปรดให้มีกรรมการผู้ชำนาญกฎหมาย ทั้งฝ่ายไทย
แลต่างประเทศ คือ  พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์  เสนาบดีกระทรวงยุตติธรรม เป็น
ประธาน...พร้อมกัน ตรวจพระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่  และปรึกษาลัก ษณการที่จะชำระ
แลจัดระเบียบกฎหมายเป็นเดิมมา...

ช่วยกันรวบรวมพระราช กำหนดบทพระอัยการอันควรคงจะใช้ต่อไปเรียบเรียงเป็นร่างขึ้นไว้  แต่ยังหา
ได้ตรวจชำระไม่  ครั้น เมื่อรัตนโกสินทร์ศก 132  ทรงพระกรุณาโปรดให้หามองซิ เออร์ ยอชส์ปาดู
เนติบัณฑิตฝรั่งเศส  เข้ามารับราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาในการร่างกฎหมาย  จึงได้โปรดให้ตั้ง
กรรมการ  มี  มองซิเออร์  ยอชส์ ปาดู  เป็นประธาน ...    รับ ร่างกฎหมายที่กรรมการก่อนได้ทำไว้
มาตรวจชำระแก้ไขอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อกรรมการนี้ได้ชำระร่างกฎหมายส่วนลักษณอาญาเสร็จ  แลได้ส่ง
ร่างนั้นไปปรึกษาเจ้ากระทรวงฝ่าย ธุรการ  บรรดามีหน้าที่ราชการเกี่ยวข้องต้องปฏิบัติ เนื่องด้วย
กฎหมายนี้ทุกกระทรวงแล้ว  จึงนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว  จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งกรรมการ เสนาบดี  มี พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงดำรงราชานุ ภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  เป็นประธาน...   ช่วยกันตรวจชำระร่าง
กฎหมายลักษณอาญาที่ ร่างใหม่  พร้อมด้วยกรรมการซึ่ง มองซิเออร์ ยอชส์ ปาดู  เป็นประธานนั้น
เป็นชั้นที่สุดอีก ชั้นหนึ่ง...

การตรวจชำระร่างกฎหมายลักษณอาญาสำเร็จได้ ดังพระราชประสงค์   ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
เมื่อเสด็จกลับคืนพระ นคร ทรงตรวจแก้ไขด้วยพระองค์เองอีกชั้นหนึ่ง  แลได้ทรงปรึกษาในที่ประชุม
เสนาบดีเห็นชอบโดย พระราชบริหารแล้ว  จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ  ให้ตราไว้เป็นพระราชบัญญัติสืบ ไป

                                                           


สารบัญ
กฎหมายลักษณอาญา

พระราชปรารภ
ความเบื้องต้น

ภาค 1
ว่าด้วยข้อบังคับต่าง ๆ

ภาค 2
ว่าด้วยลักษณความผิด
ส่วนที่ 1
ว่า ด้วยความผิด ประทุษร้ายต่อพระเจ้าอยู่หัว แลพระราชอาณาจักร
ส่วนที่ 2
ว่า ด้วยความผิดอันเกี่ยวด้วยการปกครองบ้านเมือง
ส่วนที่ 3
ว่า ด้วยความผิดที่กระทำให้เสื่อมเสียความยุตติธรรม
ส่วนที่ 4
ว่า ด้วยความผิดต่อศาสนา
ส่วน ที่ 5
ว่าด้วยความผิดที่กระทำให้ เกิดภยันตรายแก่บุคคลแลทรัพย์
ส่วน ที่ 6
ว่าด้วยความผิดที่กระทำ อนาจาร
ส่วนที่ 7
ว่าด้วยความผิดที่ประทุษร้ายแก่ชีวิตแลร่างกาย
ส่วนที่ 8
ว่า ด้วยความผิดที่กระทำให้เสี่อมเสียอิสสรภาพ แลชื่อเสียง
ส่วนที่ 9
ว่า ด้วยความผิด ที่ประทุษร้ายแก่ทรัพย์
ส่วนที่ 10
ว่า ด้วยความผิด ที่เป็นลหุโทษ

พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา  พระพุทธศักราช 2470
พระราชบัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลง กฎหมายลักษณอาญามาตรา 335 ข้อ 2
พระราชบัญญัติเพิ่มเติมกฎหมายลักษณอาญา





หนังสือ กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127 ได้จัดพิมพ์พร้อมกับ 
พระ ราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา พระพุทธศักราช 2470
พระ ราชบัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลง กฎหมายลักษณอาญา มาตรา 335 ข้อ 2
พระ ราชบัญญัติเพิ่มเติมกฎหมายลักษณอาญา พระพุทธศักราช 2468

เป็นหนังสือปกอ่อน  หนา  189  หน้า            
พิมพ์เมื่อพุทธศักราช  2474
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ห้างสมุด  สำเพ็ง  พระนคร
ราคาเล่มละ 1 บาท 25  สตางค์



นับเป็นหนังสือเก่าอันทรงคุณค่ายิ่งที่หายากมากเล่ม หนึ่งในปัจจุบัน  ควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้า
เกี่ยวกับกฎหมาย  สำหรับ นักกฎหมาย  นักวิชาการ  นัก ศึกษา และผู้สนใจ เป็นอย่างยิ่ง 
.

กุดหัว-ยิงเป้า โทษประหารชีวิต

  กุดหัว-ยิงเป้า โทษประหารชีวิต


ภาพจาก www.manager.co.th 


--->ตำรวจ หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายเรียกชื่อตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจบ้าน ตำรวจกองปราบ ตำรวจดับเพลิง ตำรวจน้ำ ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้

*แปลก จริง ทำไมไม่มีคำว่าตำรวจฆาตกรนะ*

--->ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ, นักรบ

*แต่ นักรบที่เห็นวันนี้ คือ นักรบมือตบ ที่อาวุธคู่กายไม่สามารถใช้สังหารใครได้ ส่วนทหาร เห็นไปยืนอยู่ข้างหลังผู้สั่งฆ่าประชาชน ภาพนั้นทำให้นายทหารผู้รักเกียรติศักดิ์แห่งนักรบไทยเกิดความอดสูใจ เหตุที่ทราบความรู้สึกของนายทหารบางท่านเพราะบังเอิญมีโอกาสได้คุยกับนาย ทหารท่านนั้น (ไม่สามารถเอ่ยนามได้)

---> นักโทษ หมายถึง บุคคลซึ่งถูกลงโทษจําคุก

--->จำ คุก หมายถึง โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขังไว้ในเรือนจำ

*ใน พจนานุกรมไม่ได้บอกไว้ว่า นักโทษที่หนีการจำคุกนั้น เรียกว่าอะไร*

---> ผู้ร้าย หมายถึง โจร, อาชญากร

---> อาชญากร หมายถึง ผู้ก่ออาชญากรรม, ผู้กระทําความผิดที่เป็นคดีอาญา

--->โจร หมายถึง ผู้ร้ายที่ลักขโมยหรือปล้นสะดมทรัพย์สินผู้อื่นเป็นต้น

--->ฆาตกร หมายถึง ผู้ฆ่าคน

---> ฆาตกรรม หมายถึง การฆ่าคน


ตามพจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า ตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดกฎหมาย พจนานุกรมฯไม่ได้บอกวิธีการปราบปรามของตำรวจ ว่าต้องปราบปรามอย่างไร...? ต้องไปดูในรัฐธรรมนูญฉบับที่ฆาตกรพยายามจะเปลี่ยนแปลงความผิดให้กลายเป็น ความถูกต้องนั่นแหละ

การลงโทษจำคุกสำหรับบุคคลธรรมดา เมื่อศาลตัดสินลงโทษ ต้องได้รับการจับกุมคุมขังทันที แต่การลงโทษจำคุกสำหรับบุคคลผู้ที่เคยมีตำแหน่งทางการเมืองระดับประเทศกลับ ทำได้ยากกว่า มิหนำซ้ำ ยังมีความพยายามที่จะให้นักโทษได้ออกหน้าออกตา ออกข่าวเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตัวเองเพื่อเรียกความรัก ความสงสารกลับคืน เพื่อทำสิ่งผิดให้กลายเป็นถูก

หลาย คนสงสัย ฉันเองก็สงสัยว่า แล้วโทษการจาบจ้วงหมิ่นเบื้องสูงล่ะ จะทำอย่างไร...?
ทำไม...? ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจึงได้ละเลยที่จะเอาโทษบุคคลเหล่านี้ ทั้งๆที่มีหลักฐาน ภาพ เสียง ที่บังอาจอย่างชัดเจน หากพฤติกรรมจาบจ้วงหมิ่นเบื้องสูงเกิดขึ้นในสมัยโบราณ รับรองว่ามันไม่สามารถอยู่รอดมาจนถึงวันนี้ได้และโทษสถานเดียวที่มันบังอาจ คือ โทษประหารชีวิต

คำสุดท้ายที่ฉันสงสัยใคร่รู้ก็คือ คำว่า ประหารชีวิต ซึ่งมีความหมายว่า โทษทางอาญาขั้นสูงสุดที่ลงแก่ผู้กระทําความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ วิธีประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา คือ การเอาตัวผู้ต้องโทษประหารชีวิตไปยิงเสียให้ตาย

การยิง หรือที่เรียกว่า ยิงเป้า คือวิธีการลงโทษประหารชีวิตในปัจจุบัน แต่ถ้าเป็นโทษประหารชีวิตของผู้กระทำผิดอาญาอุกฉกรรจ์ คือ การตัดคอโดยเพชฌฆาต


ภาพเหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบระยะเวลาแน่นอน)

โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษ ที่รุนแรงที่สุดที่ใช้ต่อผู้กระทำความผิด ถือเป็นการลงโทษที่เก่าแก่ที่สุด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายของการประหารชีวิตคือ การกำจัดผู้กระทำผิดให้พ้นไปจากสังคมด้วยวิธีการฆ่า ในสมัยโบราณเรียกการลงโทษประหาร ว่า"กุดหัว"โดยใช้ดาบฟัน ที่คอนักโทษเด็ดขาด
ภาพเหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบระยะเวลาแน่นอน)

ดาบที่ใช้ในการประหารชีวิตนั้นมีรูป ร่างต่างกันครูเพชฌฆาตเป็นผู้จัด ทำดาบขึ้น มีดาบปลายแหลม ดาบปลายตัด และดาบหัวปลาไหล การประหารชีวิตครั้งใดจะใช้ดาบชนิดใด ให้อยู่ในดุลพินิจของครูเพชฌฆาต

เพชฌฆาต ผู้ทำหน้าที่ประหารชีวิตมี ๓ คนคือ ดาบที่หนึ่ง และตัวสำรองอีก ๒ คน เรียกว่า ดาบสอง และ ดาบสาม ถ้าดาบหนึ่งฟันคอไม่ขาด ดาบสองจะต้องซ้ำ ถ้ายังไม่ขาดดาบสามก็ต้องเชือดให้ขาด 

พิธีการประหารชีวิตด้วยดาบจะมีวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้ และพิธีทางไสยศาสตร์หลายอย่าง เช่นมีสายมงคลล้อม รอบบริเวณประหารกันผีตายโหงจะเฮี้ยน การตัดสายมงคลต้องใช้มีดโดยเฉพาะ จะใช้ของอื่นไม่ได้ เป็นต้น 

ภาพ เหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบเวลาแน่นอน)

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น การประหาร ชีวิตนักโทษด้วยดาบมักทำพิธีกันที่วัด โดยคุมตัวผู้ต้องโทษประหาร เดินทางโดยทางเรือออกจากคุกในลักษณะจองจำครบ ๕ ประการ โดยสรุปขั้นตอนการประหารชีวิตด้วยดาบ ดังนี้ 

๑. เมื่อลูกขุน ณ ศาลาลูกขุน ณ ศาลหลวง วางโทษประหารชีวิต ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประหารชีวิต

ภาพเหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบเวลาแน่นอน)

๒. ก่อนจะนำตัวไปประหารชีวิต จะต้องถูกเฆี่ยน ๓ ยกๆละ ๓๐ ที รวม ๙๐ ที 

๓. จัดอาหารคาวหวานมื้อสุดท้ายให้นักโทษกินก่อนประหาร และนิมนต์พระมาเทศน์ให้ฟัง 

๔. นักโทษประหารถูกจับนั่งมัดกับหลักไม้กางเขนแบบกาจับหลัก 


ภาพเหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบเวลาแน่นอน)

๕. เพชฌฆาตเอาดินเหนียวอุดหู อุดปาก และแปะไว้ที่ต้นคอนักโทษ เพื่อกำหนดตรงที่จะฟันจาก นั้นเพชฌฆาตดาบสองจะร่ายรำไปมา เพื่อรอจังหวะให้จิตนักโทษสงบ พร้อมกับเพชฌฆาตดาบหนึ่งลงดาบ ฟันคอทันที

๖. เมื่อประหารแล้ว เจ้าหน้าที่จะตัดส้นเท้า เพื่อถอดตรวนออกแล้วสับร่างกายหรือแล่เนื้อให้ทานแก่แร้งกา

๗. เอาหัวเสียบประจาน



ยิ ง เ ป้ า

ปัจจุบันการลงโทษประหารชีวิตผู้กระทำผิดได้ เปลี่ยนจากการประหารชีวิตด้วยดาบมาเป็นการ ประหารชีวิตด้วยปืน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นต้นมา เรียกว่า การยิง เป้า

วิธีการประหารชีวิตจะเริ่ม ขึ้นโดยเจ้าหน้าที่อ่านคำสั่งศาลและฎีกาทูลเกล้าซึ่งพระเจ้าอยู่หัวพระราช ทานฯ คืนมาให้ผู้ต้องโทษฟังและลงชื่อรับทราบ ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนประวัติให้ถูก ต้องและอนุญาตให้ ผู้ต้องโทษจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการจำเป็นอื่นใดเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วจึงให้ผู้ต้องโทษฟังเทศน์จากพระภิกษุสงฆ์หรือนักพรตในนิกายศาสนาที่ผู้ ต้องโทษเลื่อมใสแล้วให้รับประทานอาหาร เป็นมื้อสุดท้าย

จากนั้นนำผู้ต้องโทษเข้าสู่หลักประหารซึ่งเป็น ลักษณะเป็นไม้กางเขนมีความสูงขนาดไหล่ โดยผู้ต้อง โทษจะถูกมัดด้วยด้ายดิบ ให้ยืนหันหน้าเข้าหลักประหารซึ่งมีไม้นั่งคร่อม ป้องกันมิให้ผู้ต้องโทษยืนตัวงอ หรือเข่าอ่อน ข้อมือทั้งสองผูกมัดติดกับหลักประหารในลักษณะประนมมือ กำดอกไม้ธูปเทียนไว้ เจ้าหน้าที่ นำฉากประหารซึ่งมีเป้าวงกลมติดอยู่กับฉาก ตั้งเล็งให้เป้าอยู่ตรงจุดกลางหัวใจของผู้ต้องโทษ ห่างจากด้านหลังผู้ต้องโทษประมาณ ๑ ฟุต เพื่อกำบังมิให้เจ้าหน้าที่ผู้ลั่นไกปืนเห็นตัวผู้ต้องโทษ

แท่น ปืนประหารตั้งห่างจากฉากประหารประมาณ ๔ เมตร เมื่อพร้อมแล้วเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณ โดยโบกธงสีแดง ผู้ทำหน้าที่ลั่น ไกปืน คณะกรรมการประหารชีวิตร่วมกันตรวจสอบจนแน่ใจว่านักโทษถึงแก่ความตายอย่างแท้ จริง จากนั้น เจ้าหน้าที่จะจัดพิมพ์ลายนิ้วนักโทษประหารเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อยืนยันว่า ไม่ประหารชีวิตผิดตัว

ภาพจาก www.manager.co.th