Wednesday, October 31, 2012

กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127

กฎหมายลักษณอาญา  ร.ศ. 127


            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ ทรงพระราชดำริว่า

 พระราช กำหนดกฎหมายสำหรับพระราชอาณาจักรสยามนี้  บรม กษัตริย์แต่โบราณสมัย
ได้รับ คัมภีร์พระธรรมศาสน์กองมนูสาราจารย์  ซึ่งเป็นกฎหมาย ในมัชฌิมประเทศมาเป็นหลักของ
กฎหมายแล้ว
            แลเมื่อมีเหตุอันใดเกิดขึ้น  อัน จะตัดสินพระธรรมศาสน์มิได้ โดยกฎหมายพระธรรมศาสน์
ไม่กล่าวถึงก็ดี  หรือโดยประเพณีแลความนิยมในสยามประเทศผิดกันกับมัชฌิม ประเทศก็ดี  บรม
กษัตริย์แต่ปางก่อน ก็ทรงตั้งพระราชกำหนดบทพระอัยการขึ้นไว้เป็นแบบแผนสำหรับพิพากษา
เหตุแลคดีอย่างนั้น ๆ ที่จะมีขึ้นในภายหน้า พระราชกำหนดบทพระอัยการนี้ ก็เปนกฎหมายสำหรับ
พระราชอาณาจักรเพิ่ม เติมขึ้นโดยลำดับมา  และพระราชกำหนดบทพระอัยการที่ ได้ตั้งมาเป็น
ครั้งเป็นคราวนี้  เมื่อ ล่วงเวลาช้านานเข้า ก็มีมากมายซับซ้อนกันเกิดลำบากแก่การที่จะพิพากษา
อรรถคดี  โดยการบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาพ้นเหตุ  ล่วง สมัยที่จะต้องใช้พระราชกำหนดบทพระ
อัยการที่กษัตริย์ พระองค์แต่ก่อน ๆ  ได้ทรงบัญญัติไว้หลายชั่วอายุคน แล้วบ้าง  หรือโดยเหตุที่
พระราชกำหนดบทพระ อัยการเก่าขัดขวางกับที่บรมกษัตริย์ภายหลัง  ได้ทรง ตั้งขึ้นบ้าง  ในเวลา
เมื่อถึงความลำบากมี ขึ้นเช่นนี้   พระเจ้าแผ่นดินจึงโปรดให้ประชุมลูกขุน ณ ศาลาอันเป็นเจ้า
กระทรวงฝ่ายธุรการ พร้อม ด้วยลูกขุน ณ ศาลหลวงอันมีตำแหน่งในฝ่ายตุลาการตรวจชำระพระราช
กำหนดกฎหมาย  แลทรงพระราชวินิจฉัยให้ยกเลิกบทกฎหมายที่พ้นเวลาแลมิควร จะใช้ออกเสีย
คงไว้แต่ที่ยังใช้ได้  จัด ระเบียบเข้าเป็นลักษณะมีหมวดหมู่แลมาตราให้คนทั้งหลายรอบรู้บท
กฎหมายง่ายขึ้น  แลเป็นความสะดวกแก่การพิพากษาอรรถคดีทั้งปวงทั่วไป  เป็นราชประเพณีมี
สืบมาแต่โบราณทีเดียว ดังนี้  แลการตรวจชำระพระราชกำหนด กฎหมายดังว่ามานี้  ครั้งหลังที่สุด
ได้มีเมื่อจุลศักราช 1166  ปีชวด ฉศก รัตน โกสินทร์ศก 23  ในรัชชกาลแห่งสมเด็จพระบรม
ไปยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ตั้งแต่นั้นมาจน บัดนี้นับได้ 103 ปี  ยังหา
ได้ตรวจชำระพระราช กำหนดบทพระอัยการให้เรียบร้อยไม่  ก็เป็นธรรมดาอยู่ เองที่พระราชกำหนด
บทพระอัยการ  อัน พ้นความต้องการในสมัยนี้แลที่ขัดขวางกันเองจะมีอยู่เป็นอันมาก  ทรงพระราช
ดำริเห็นว่า  ถึง เวลาสมควรที่จะต้องตรวจชำระพระราชกำหนดกฎหมายอยู่ด้วยเหตุนี้แล้วประการ
หนึ่ง

            อีกประการหนึ่งในระหว่างตั้งแต่จุลศักราช 1217 ปีเถาะ สัปตศก รัตนโกสินทร์ศก 74
กรุงสยามได้ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี กับนานาประเทศแลหนังสือสัญญาทั้งปวงนั้น  ได้
ทำตามแบบหนังสือสัญญา ที่ฝรั่งได้ทำกับประเทศทางตวันออก  คือประเทศเตอรกี ประเทศจีน
แลประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น  มีข้อความอย่าง เดียวกันที่ยอมให้กงสุลมีอำนาจตั้งศาลพิจารณาแล
พิพากษาคดีตามกฎหมาย ของเขา  ในเมื่อคนในบังคับของชาตินั้น ๆ ที่เข้ามาอยู่ในประเทศทาง
ตะวันออกเป็นความกันขึ้นเอง  หรือเป็นจำเลยของคนในบังคับของบ้านเมือง  ลัก ษณการอย่างนี้แม้
จะมีประโยชน์ที่บรรเทาความรับผิดชอบ แห่งเจ้าของประเทศได้อยู่บ้างในสมัยเมื่อแรกทำหนังสือ
สัญญา  เวลามีชาวต่างประเทศพึ่งเข้ามาค้าขาย  แต่ ต่อมาเมื่อการค้าขายคบหากับนานาประเทศ
เจริญแพร่หลาย  มีชาวต่างประเทศมาตั้งประกอบการค้าขายในพระราชอาณาจักร มากขึ้น  ความ
ลำบากในเรื่องคดีที่ เกี่ยวข้องกับคนในบังคับต่างประเทศ  ก็ยิ่งปรากฏเกิด มีทวีมากขึ้นทุกที
เพราะเหตุที่คนทั้งหลายอันประกอบการสมาคม ค้าขายอยู่ในประเทศบ้านเมืองอันเดียวกัน  ต้องอยู่
ในอำนาจศาลแลในอำนาจ กฎหมายต่าง ๆ กันตามชาติของบุคคล  กระทำให้เป็นความ ลำบากขัดข้อง
ทั้งในการปกครองบ้านเมือง  แลกีดกันประโยชน์ของคนทั้งหลายตลอดจนชนชาติต่างประเทศนั้น ๆ
เองอยู่เป็นอันมาก  ความลำบากด้วยเรื่องอำนาจศาล กงสุล  เช่น ว่ามานี้ย่อมมีทุกประเทศที่ได้ทำ
สัญญาโดยแบบอย่างอัน เดียวกัน  แลต่างมีความประสงค์อย่างเดียวกันที่จะหา อุบายเลิกล้าง  วิธี
ศาลกงสุลต่างประเทศ  ให้คนทั้งหลายไม่ว่าชาติใด ๆ บรรดาอยู่ในประเทศนั้น ๆ ได้รับประโยชน์อยู่
ในอำนาจกฎหมายแลอำนาจศาลสำหรับบ้านเมือง แต่อย่างเดียวทั่วกัน 

 ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มริคิดอ่านจัดการเรื่องนี้ก่อน ประเทศอื่น  โดยวิธีเลือกหาเนติบัณฑิตต่างประเทศที่ ชำนาญระเบียบบทกฎหมายฝรั่ง  มารับราชการเป็นที่ ปรึกษาทำการพร้อมด้วย
ข้าราชการญี่ปุ่น  ช่วย กันตรวจชำระกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น  จัดเข้าระเบียบ เรียบเรียงให้เป็นแบบ
แผนวิธีทำนองเดียวกับกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ประเทศฝรั่งโดยมาก  ทั้งจัดการศาลยุตติธรรม  ให้เป็นไป
ตามสมควรแก่ปรัตยุบันสมัยทั่วไปในประเทศ ญี่ปุ่น  เมื่อประเทศทั้งปวงแลเห็นว่ากฎหมายแลศาลของ ญี่ปุ่นเป็นระเบียบแบบแผนเรียบร้อยดีแล้ว  ก็ยอมแก้ สัญญายกเลิกอำนาจศาลกงสุลให้คนในบังคับต่างประเทศอยู่ในอำนาจกฎหมายแลศาล ญี่ปุ่นตั้งแต่นั้นมา  มีประเทศญี่ปุ่นที่เลิกอำนาจ ศาล กงสุล  ต่างประเทศได้ด้วยอุบายที่จัดการดังกล่าว มานี้เป็นปฐม   แลเป็นทางที่ ประเทศอื่น ๆ อันได้รับความลำบากอยู่ด้วยวิธีศาลกงสุลต่างประเทศเข้ามาตั้งในบ้านเมือง  จะดำเนิรตามให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกันได้  ด้วยเหตุเหล่านี้  จึงได้โปรดให้ หาเนติบัณฑิต ผู้ชำนาญกฎหมายต่างประเทศเข้ามารับราชการหลายนาย  มีมองซิเออร์ โลแลงยัคแมงส์  ผู้ได้เคยเป็นเสนาบดีในประเทศเบลเคียม
(ผู้เขียนเข้า ใจว่าเป็น ประเทศเบลเยี่ยม)  ที่ได้มารับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาอภัยราชานั้น เป็นต้น 

                                               
แลเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 116  ได้ ทรงพระกรุณาโปรดให้มีกรรมการผู้ชำนาญกฎหมาย ทั้งฝ่ายไทย
แลต่างประเทศ คือ  พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์  เสนาบดีกระทรวงยุตติธรรม เป็น
ประธาน...พร้อมกัน ตรวจพระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่  และปรึกษาลัก ษณการที่จะชำระ
แลจัดระเบียบกฎหมายเป็นเดิมมา...

ช่วยกันรวบรวมพระราช กำหนดบทพระอัยการอันควรคงจะใช้ต่อไปเรียบเรียงเป็นร่างขึ้นไว้  แต่ยังหา
ได้ตรวจชำระไม่  ครั้น เมื่อรัตนโกสินทร์ศก 132  ทรงพระกรุณาโปรดให้หามองซิ เออร์ ยอชส์ปาดู
เนติบัณฑิตฝรั่งเศส  เข้ามารับราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาในการร่างกฎหมาย  จึงได้โปรดให้ตั้ง
กรรมการ  มี  มองซิเออร์  ยอชส์ ปาดู  เป็นประธาน ...    รับ ร่างกฎหมายที่กรรมการก่อนได้ทำไว้
มาตรวจชำระแก้ไขอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อกรรมการนี้ได้ชำระร่างกฎหมายส่วนลักษณอาญาเสร็จ  แลได้ส่ง
ร่างนั้นไปปรึกษาเจ้ากระทรวงฝ่าย ธุรการ  บรรดามีหน้าที่ราชการเกี่ยวข้องต้องปฏิบัติ เนื่องด้วย
กฎหมายนี้ทุกกระทรวงแล้ว  จึงนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว  จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งกรรมการ เสนาบดี  มี พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงดำรงราชานุ ภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  เป็นประธาน...   ช่วยกันตรวจชำระร่าง
กฎหมายลักษณอาญาที่ ร่างใหม่  พร้อมด้วยกรรมการซึ่ง มองซิเออร์ ยอชส์ ปาดู  เป็นประธานนั้น
เป็นชั้นที่สุดอีก ชั้นหนึ่ง...

การตรวจชำระร่างกฎหมายลักษณอาญาสำเร็จได้ ดังพระราชประสงค์   ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
เมื่อเสด็จกลับคืนพระ นคร ทรงตรวจแก้ไขด้วยพระองค์เองอีกชั้นหนึ่ง  แลได้ทรงปรึกษาในที่ประชุม
เสนาบดีเห็นชอบโดย พระราชบริหารแล้ว  จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ  ให้ตราไว้เป็นพระราชบัญญัติสืบ ไป

                                                           


สารบัญ
กฎหมายลักษณอาญา

พระราชปรารภ
ความเบื้องต้น

ภาค 1
ว่าด้วยข้อบังคับต่าง ๆ

ภาค 2
ว่าด้วยลักษณความผิด
ส่วนที่ 1
ว่า ด้วยความผิด ประทุษร้ายต่อพระเจ้าอยู่หัว แลพระราชอาณาจักร
ส่วนที่ 2
ว่า ด้วยความผิดอันเกี่ยวด้วยการปกครองบ้านเมือง
ส่วนที่ 3
ว่า ด้วยความผิดที่กระทำให้เสื่อมเสียความยุตติธรรม
ส่วนที่ 4
ว่า ด้วยความผิดต่อศาสนา
ส่วน ที่ 5
ว่าด้วยความผิดที่กระทำให้ เกิดภยันตรายแก่บุคคลแลทรัพย์
ส่วน ที่ 6
ว่าด้วยความผิดที่กระทำ อนาจาร
ส่วนที่ 7
ว่าด้วยความผิดที่ประทุษร้ายแก่ชีวิตแลร่างกาย
ส่วนที่ 8
ว่า ด้วยความผิดที่กระทำให้เสี่อมเสียอิสสรภาพ แลชื่อเสียง
ส่วนที่ 9
ว่า ด้วยความผิด ที่ประทุษร้ายแก่ทรัพย์
ส่วนที่ 10
ว่า ด้วยความผิด ที่เป็นลหุโทษ

พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา  พระพุทธศักราช 2470
พระราชบัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลง กฎหมายลักษณอาญามาตรา 335 ข้อ 2
พระราชบัญญัติเพิ่มเติมกฎหมายลักษณอาญา





หนังสือ กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127 ได้จัดพิมพ์พร้อมกับ 
พระ ราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา พระพุทธศักราช 2470
พระ ราชบัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลง กฎหมายลักษณอาญา มาตรา 335 ข้อ 2
พระ ราชบัญญัติเพิ่มเติมกฎหมายลักษณอาญา พระพุทธศักราช 2468

เป็นหนังสือปกอ่อน  หนา  189  หน้า            
พิมพ์เมื่อพุทธศักราช  2474
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ห้างสมุด  สำเพ็ง  พระนคร
ราคาเล่มละ 1 บาท 25  สตางค์



นับเป็นหนังสือเก่าอันทรงคุณค่ายิ่งที่หายากมากเล่ม หนึ่งในปัจจุบัน  ควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้า
เกี่ยวกับกฎหมาย  สำหรับ นักกฎหมาย  นักวิชาการ  นัก ศึกษา และผู้สนใจ เป็นอย่างยิ่ง 
.

0 comments:

Post a Comment