Wednesday, November 21, 2012

สิทธิประกันตัวในคดีอุกฉกรรจ์



สมชาย ปรีชาศิลปกุล

  การประกันตัวในคดีอาญาถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่ง เนื่องจากการกล่าวหาว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดในทางอาญา
   หรือ ไม่ก็ยังถือเป็นขั้นตอนในเบื้องต้นของกระบวนการยุติธรรม บุคคลนั้นยังมีสถานะเป็นผู้บริสุทธิ์ตามกฎหมาย ตราบจนกระทั่งจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดตัดสินลงโทษบุคคลดังกล่าว
   การ ประกันตัวจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกบุคคลไม่ให้ ได้รับความเสียหายในระหว่างที่ยังไม่ได้ถูกตัดสินว่าเป็นผู้กระทำความผิด ในอดีตที่ผ่านมา ได้เคยมีบุคคลจำนวนไม่น้อยซึ่งถูกกล่าวหาและดำเนินคดีโดยที่ไม่ได้รับการ ประกันตัว แต่ต่อมา ในภายหลังศาลได้มีคำตัดสินยกฟ้องว่ามิได้กระทำความผิด
   ซึ่ง แม้ว่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์จากคำตัดสินของศาล แต่ก็ต้องติดคุกอยู่ในระหว่างขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเป็นระยะเวลานาน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมสร้างความเสียหายแก่บุคคลนั้นอย่างสำคัญ
  ไม่ ว่าจะเป็นในแง่ของการสูญเสียโอกาสด้านต่างๆ ความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ ผลกระทบที่มีต่อครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รัก เสรีภาพในการแสวงหาความรื่นรมย์ตามปกติที่บุคคลทั่วไปพึงมี หรือความยากลำบากที่ต้องถูกกักกันเอาไว้
   ด้วย การตระหนักถึงผลกระทบในด้านลบที่มีต่อบุคคลอย่างสำคัญ จึงทำให้มีความพยายามที่จะปรับปรุงให้เกิดสิทธิในการประกันตัว ซึ่งจะช่วยลดทอนปัญหาดังกล่าวให้น้อยลง การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในห้วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนสิทธิในการประกันตัวให้เข้มแข็งมากขึ้น บนหลักการที่ว่าการประกันตัวต้องเป็นหลักทั่วไปที่บุคคล ซึ่งต้องเป็นผู้ต้องหาสามารถได้รับอย่างทั่วถึง การไม่ให้ประกันตัวจะเป็นข้อยกเว้นในกรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าหากอนุญาต แล้วจะนำมา ซึ่งปัญหาต่อการดำเนินคดีที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า เช่น การหลบหนีจากการประกันตัว การเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือคุกคามกับพยานหลักฐานในคดี เป็นต้น
   ถึง แม้จะมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนหลักการเรื่องการประกันตัวเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญประการหนึ่งในการประกันตัว ที่ปรากฏให้เห็นอยู่อย่างบ่อยครั้ง ก็คือ การตกเป็นผู้ต้องหาในคดีซึ่งมักพิจารณาว่าเป็นคดีที่มีโทษรุนแรงหรือส่งผล กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างกว้างขวาง ผู้ซึ่งกลายเป็นผู้ต้องหามักจะไม่ได้โอกาสในประกันตัว
   การ ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวในคดีประเภทนี้ ในเบื้องต้นมักเป็นคดีอุกฉกรรจ์ดังเช่นใน คดีการฆ่าผู้อื่นอย่างเหี้ยมโหดหรือคดียาเสพติดซึ่งมีหลักฐานเป็นจำนวน มหาศาล และคดีอีกประเภทหนึ่งมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันประเด็นทางการเมืองอย่าง ใกล้ชิด เช่น ผู้ต้องหาในคดีกระทำความผิดฐานก่อการร้ายหรือความผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีลักษณะดังกล่าวนี้มักไม่ประสบความ สำเร็จเท่าใด ด้วยเหตุผลว่าถูกกล่าวหาในการกระทำซึ่งเป็นความผิดรุนแรง
   คำถามสำคัญ ก็คือ ในกรณีของคดีที่ข้อกล่าวหาซึ่งมีความรุนแรงนั้นมักจะมีการพิจารณาอย่างเข้มงวดมากกว่าปกติในขั้นตอนการประกันตัว
  มอง ในด้านของเจ้าหน้าที่รัฐ การให้ความสำคัญต่อการประกันตัวบุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีที่รุนแรงก็จะ เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ไม่ให้หลบหนีและหากมีการตัดสิน ลงโทษก็จะสามารถลงโทษบุคคลดังกล่าวได้ทันที
  แต่ ในทางตรงกันข้าม การตกเป็นผู้ต้องหาในคดีรุนแรงไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องกระทำความ ผิดเสมอไป เฉพาะอย่างยิ่งหากคิดในเงื่อนไขของสังคมไทยจะพบว่าบุคคลสามารถตกเป็นผู้ต้อง หาในคดีอุกฉกรรจ์ได้อย่างไม่ยากเย็น มีผู้คนจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ตกอยู่ในกระบวนการยุติธรรม อย่างยาวนานในข้อหาเป็นผู้ก่อความไม่สงบโดยไม่ได้รับการประกันตัว และในท้ายที่สุด คดีก็ยุติลงด้วยการยกฟ้องจากศาล
  หรือในกรณีมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายก็เช่นเดียวกัน ด้วยการริเริ่มคดีที่เปิดกว้างให้กับบุคคลใดก็ได้ในการนำคดีไปสู่กระบวนการ ยุติธรรม เป็นให้บุคคลจำนวนหลายร้อยคนตกเป็นผู้ต้องหาตามมาตรานี้ และเนื่องจากมาตรานี้เป็นส่วนหนึ่งของหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่ง ราชอาณาจักรก็ทำให้กลายเป็นผู้ต้องหาในคดีที่มีความรุนแรง
  สิทธิ การประกันตัวจึงเป็นสิ่งที่มักถูกพิจารณาอย่างเข้มงวด โดยอาจละเลยต่อหลักการประกันตัวว่าบุคคลสามารถเข้าถึงสิทธินี้ได้ตราบยังที่ ยังไม่ชัดเจนว่าจะส่งผลร้ายอย่างรุนแรงต่อคดี
  ท่าม กลางความขัดแย้งที่มีอยู่อย่างกว้างขวางในสังคมไทยและมีบุคคลจำนวนมากต้องตก อยู่ในอุ้งมือของกระบวนการยุติธรรม ในหลายประเด็นยังอาจเป็นข้อถกเถียงซึ่งต้องใช้เวลาและหาข้อยุติถึงความเหมาะ สมว่าเนื้อหาของกฎหมายนั้นๆ จะมีสาระอย่างไรบ้าง
  แต่ เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นระหว่างผู้คน ฝ่ายต่างๆ ก็คือ การยืนอยู่บนหลักการพื้นฐานสำคัญของระบอบเสรี/ประชาธิปไตย สิทธิในการประกันตัวก็นับเป็นหลักการพื้นฐานประการหนึ่ง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการต่อสู้และโต้แย้งกันระหว่างผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าว หาที่เท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น
  การ จะไม่ให้ประกันตัวบุคคลใดจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบบนหลักฐานที่ ชัดเจนว่าจะส่งผลกระทบต่อคดีนั้นๆ ลำพังเพียงข้อกล่าวหาที่รุนแรงเพียงอย่างเดียวยังไม่อาจเพียงพอต่อการปฏิเสธ สิทธินี้ มิฉะนั้นแล้วจะเท่ากับว่าบุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอุกฉกรรจ์ได้กลายเป็น บุคคลที่ไร้สิทธิในการประกันตัวอย่างสิ้นเชิง อันหมายถึง การทำให้บุคคลต้องถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานไปแม้ว่ายังอยู่ในฐานะของผู้ บริสุทธิ์ก็ตาม