Tuesday, December 25, 2012

การขายทอดตลาดทรัพย์สิน

การขายทอดตลาดทรัพย์สิน

การขายทอดตลาดเป็นสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่งแต่เป็นการขายโดยวิธีประมูลราคา ซึ่งผู้ขาย
จะต้องโฆษณาให้บุคคลทั่วไปทราบ ให้ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดต้องทำตามโฆษณาบอก
ขายทรัพย์นั้นๆไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์การขาย
ทอดตลาดจะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้หรือด้วยกริยาอย่าง
ใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด แต่หากว่าเมื่อใดผู้ทอดตลาดเห็นว่า
ราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดนั้น ยังไม่เพียงพอผู้ขายทอดตลาดอาจถอนทรัพย์สินจากการขาย
ทอดตลาดได้และเมื่อมีการถอนทรัพย์สินนั้นจากกการขายทอดตลาด ผู้สู้ราคาก็พ้นความ
ผูกพันในขณะที่ถอนนั้น
ขั้นตอนการดำเนินการก่อนทำการขายทอดตลาด
หลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้เป็นหนี้
ลูกหนี้ เจ้าพนักงานก็จะขออนุญาตศาล ขายทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะตรวจสำนวน
ว่าทรัพย์ใดมีผู้ของดการบังคับคดีหรือมีรายใดที่ร้องขัดทรัพย์ เมื่อตรวจดูเแล้วเห็นว่าไม่มี
ปัญหาก็จะดำเนินการขายโดยทำประกาศแจ้งให้เจ้าหนี้ลูกหนี้และบุคคลทั่วไปทราบ
การจำหน่ายทรัพย์สินของกรมบังคับคดีเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งใน
กระบวนการบังคับคดีเป็นการแปรทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้เป็นเงิน
เพื่อนำมาจ่ายให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง
-ขั้นตอนภายหลังการขายทอดตลาด
ในกรณีอสังหาริมทรัพย์ เมื่อซื้อทรัพย์ได้แล้วจะถือว่าเงินที่ผู้ซื้อวางเป็น
หลักประกันก่อนเข้าสู้ราคาเป็นเงินมัดจำ และผู้ซื้อจะต้องชำระราคาส่วนที่เหลือ
ภายใน 15 วัน ซึ่งในกรณีที่มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถชำระราคาได้ทันภายใน
กำหนดดังกล่าว เช่น อยู่
ระหว่างขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ผู้ซื้อสามารถขอขยายระยะเวลาชำระ
เงินส่วนที่เหลือออกไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนด 15 วัน
โดยให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนครบกำหนด 15 วัน ดังกล่าว


อย่างไรก็ตามเนื่องจากการที่มีการแก้ไขเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับการขายทอดตลาด ซึ่งผู้มี
ส่วนได้เสียอาจใช้สิทธิค้านราคา ทำให้ผู้เสนอราคาสูงสุดต้องผูกพันกับการเสนอราคา
ดังกล่าวออกไปอีก 30 วัน ทำให้ผู้เสนอราคาสูงสุด ยังไม่ใช่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ในวันนั้นแต่ผู้
เสนอราคาสูงสุดยังคงต้องทำสัญญาซื้อขายไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยวางเงินมัดจำ
ไว้เช่นเดียวกับกรณีเป็นผู้ซื้อได้และจะต้องรอผลการขายในครั้งต่อไป ซึ่งในการขายครั้ง
ต่อไป ผู้เสนอราคาสูงสุดมีสิทธิ์สู้ราคากับผู้เสนอราคารายอื่นๆเช่นกัน สำหรับกรณีของ
อสังหาริมทรัพย์หากมีผู้คัดค้านราคา ผู้เสนอราคาสูงสุดจะต้องผูกพันกับการเสนอราคา
และต้องวางเงินมัดจำเช่นเดียวกัน

เมื่อผู้ที่ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบหนังสือและ
เอกสารการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อไปดำเนินการ ณ สำนักงานที่ดิน ซึ่งผู้ซื้อจะต้องจ่าย
ค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยสามารถนำใบเสร็จรับเงินมา
ติดต่อขอรับภาษีคืนภายใน 20 วัน นับแต่วันชำระครบถ้วน หากไม่มารับหนังสือโอน
กรรมสิทธิ์หรือขอรับภาษีคืนภายในกำหนดจะถือว่าไม่ติดใจขอรับภาษีคืน ส่วนผู้มีส่วนได้
เสียหากจะคัดค้านการขอคืนภาษี ต้องคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันชำระราคาครบถ้วน
ผู้ซื้อจะได้รับเงินภาษีคืนช้าหรือเร็วขั้นอยู่กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการขาย
เช่นมีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายหริอไม่


การขอคืนเงินประกันตัวผู้ต้องหา




เมื่อคดีถึงที่สุดนายประกันสามารถยื่นคำร้องขอรับหลัประกันคืน
โดยปฏิบัติดังนี้

(1) นายประกันรับเงินประกันด้วยตนเอง ให้แนบเอกสารประกอบดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนา
- ใบเสร็จรับเงินวางประกัน (ฉบับสีขาว) เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา
(2) กรณีนายประกันมอบฉันทะให้ผู้อื่นรับแทน ให้แนบเอกสารประกอบ ดังนี้
- ใบมอบฉันทะให้รับเงินแทน โดยลงลายมือชื่อทั้งผู้มอบฉันทะและผู้รับมอบฉันทะ
ครบถ้วน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบฉันทะ พร้อมรับรองถูกต้อง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนของผู้รับมอบฉันทะพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- ใบเสร็จรับเงินวางประกัน (ฉบับสีขาว) เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการค้นหาสำนวน