ฎีกายืนประหาร'สว.ช้าง - สุขุม เชิดชื่น'อดีต สว. จ้างวานฆ่า 'พญ.นิชรี มะกรสาร' วิสัญญี จุฬา ฯ ปี 39 ปมขัดแย้งธุรกิจ เจ้าตัวถึงกับน้ำตาซึม กอดญาติร่ำไห้ ส่วน 2 มือปืน เจอคุกตลอดชีวิต ทนายเล็งยื่นฎีกาอภัยโทษ
25 ต.ค.55
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีจ้างวานฆ่าผู้อื่น หมายเลขดำ ด.2166/2540
ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 2 และ พล.อ.ต.สมิทธ มะกรสาร บิดาของ พ.ญ.นิชรี
มะกรสาร ผู้ตาย ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายธนศักดิ์ หรือใหม่ ยิ้มดี
อายุ 35 ปี, นายสราวุธ หรือตั๊ก ไชยสิงห์ อายุ 34 ปี, นายชัชพัฒน์ หรือเซ้ง
กิตตธนากร (เสียชีวิตศาลสั่งจำหน่ายคดี) , นายวิเชียร หรือม่อน กิตติธนากร
อายุ 47 ปี และนายสุขุม หรือช้าง เชิดชื่น อดีตสมาชิกวุฒิสภา อายุ 50 ปี
เป็นจำเลยที่1 - 5 ในความผิดฐานจ้าง วาน ใช้ และร่วมกันฆ่า พ.ญ.นิชรี
มะกรสาร อดีตวิสัญญีแพทย์ รพ.จุฬา โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ,กระทำผิด
พรบ.อาวุธปืน ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
ทั้งนี้ โดยคดีนี้ ฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 40 ระบุความผิดสรุปว่า ระหว่างวันที่ 15 - 25 ต.ค.39 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันจ้างวานใช้ให้จำเลยที่ 1,2 และ 4 ร่วมกันฆ่าผู้ตาย ด้วยค่าจ้างจำนวน 500,000 บาท กระทั่งวันที่ 25 ต.ค. 2539 เวลา 05.30 น. จำเลยที่ 1,2 และ 4 ร่วมกันใช้อาวุธปืนสั้นออโตเมติกไม่มีทะเบียนขนาด 11 ม.ม. พร้อมเครื่องกระสุนจำนวน 18 นัดของจำเลยที่ 3 ที่นำมาเพื่อไปใช้ยิง พญ.นิชรี จำนวน 5 นัด จนถึงแก่ความตายขณะขับรถยนต์ออกจากบ้านพักย่านห้วยขวาง สาเหตุมาจากจำเลยที่ 5 มีความขัดแย้งกับผู้ตายเกี่ยวกับเรื่องการบริหารโรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ เนื่องจากผู้ตาย สั่งปลดจำเลยที่ 5 ออกจากตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน กระทั่งเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกันทั้งในทางแพ่งและทางอาญาหลายคดี นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่แม่ผู้ตายถูกจำเลยที่ 5 หลอกลวงให้มอบเงินจำนวน 200 ล้านบาท ไปซื้อที่ดิน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เนื้อที่100 ไร่ เพื่อทำสนามกอล์ฟทั้งที่ผู้ตายและบิดาคัดค้าน รวมทั้งเรื่องการขัดธุรกิจบริษัท มิลเลียน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งค้าขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์มือสอง และรับทวงหนี้ จำเลยที่ 1 ,2 และ 4 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนแต่กลับให้การปฏิเสธในชั้นศาล ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2547 ว่า จำเลยที่ 1,2 และ 4 กระทำผิดหลายกรรม ให้ลงโทษทุกกรรมฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน และพรบ.อาวุธปืน พิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1 , 2 และ 4 แต่คำให้การ ในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1,2 และ4 ไว้ตลอดชีวิต ส่วนจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานจ้างวานใช้ให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามมาตรา 289 อนุ 4 ประกอบมาตรา 84เสมือนเป็นตัวการในการฆ่า ให้ลงโทษประหารชีวิตสถานเดียว ต่อมาจำเลยที่ 1 , 2 , 4 และ 5 อุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาเมื่อ 26 มิ.ย.52 พิพากษายืน ต่อมาจำเลยที่ 2,4 และ5 ยื่นฎีกาขอสู้คดีขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง ขณะที่จำเลยที่ 1 ขอรับโทษจำคุกตลอดชีวิตตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา โดยไม่ติดใจยื่นฎีกาทำให้คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่สุด ในขณะที่จำเลยที่ 3 เสียชีวิต ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลอาญาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 3 ออกจากสารบทความ
ศาลฎีกาประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ,4 และ5 ว่าจำเลยที่ 2,4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ร่วมกันฆ่าผู้ตายตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองหรือไม่เห็นว่า โจทก์มีพยานที่เป็นคนดูต้นทางให้แก่จำเลยที่ 1,2 และ4 ให้การยืนยันสอดคล้องกับคำให้การของจำเลยที่ 1,2 และ4 ที่ได้ให้การไว้ในชั้นสอสวน โดยมีการบันทึกภาพวิดีโอไว้เป็นหลักฐานด้วย ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ติดต่อให้ จำเลยที่ 1,2และ4 ร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยได้รับค่าจ้างคนละ 1 แสนบาท โดยจำเลยที่ 3 ได้รับค่าจ้างมาทั้งหมด 5 แสนบาท ขณะที่โจทก์ยังมีคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับชั้นผู้ใหญ่เบิกความสนับสนุน ซึ่งหากจำเลยที่ 1,2และ4 ไม่รับสารภาพ เจ้าหน้าที่ตำรวจคงไม่สามารถติดตามพยานที่เป็นคนดูต้นมาทางมาเป็นพยานได้ เพราะหลังจากคนดูต้นทางได้รับค่าจ้าง 5 หมื่นบาทแล้วได้หลบหนีไป โดยคำให้ของพยานที่เป็นคนดูต้นทางได้ให้รายละเอียดทั้งบุคคลที่ติดต่อ สถานที่ยานพาหนะที่ใช้ จึงเชื่อได้ว่าไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำให้จำเลยจำเลยที่ 1,2และ4 ได้รับโทษ ส่วนที่พวกจำเลยอ้างว่า ถูกทำร้ายร่างกายเพื่อให้รับสารภาพนั้น ศาลเห็นว่า ในวันแถลงข่าวการจับกุมมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ รวมถึงนายเสนาะ เทียนทอง รมว.มหาดไทย (ตำแหน่งในขณะนั้น) แถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชนจำนวนมาก จำเลยมีสิทธิ์ที่จะร้องเรียนหากถูกทำร้ายจริง ประกอบกับในชั้นฝากขังพวกจำเลยไม่ได้ให้การต่อศาลว่าถูกทำร้าย พวกจำเลยยังยอมรับในการตอบคำถามทนายความโจทก์ร่วมด้วยว่า ระหว่างถูกจับกุมมีแพทย์มาตรวจร่างกาย สอดคล้องกับรายงานการตรวจของแพทย์ที่ระบุว่าไม่มีบาดแผลแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นฟังไม่ขึ้น
ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 5 มีปัญญาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 5 จ้างวาน จ.ส.อ.เมตตา เต็มชำนาญ (ยศในขณะนั้น) และนายมงคล หรือ หมง นกทอง ให้ฆ่าผู้ตาย แล้ว จ.ส.อ.เมตตา และนายมงคล เป็นผู้ไปติดต่อให้จำเลยที่ 3 ไปจ้างวานให้พวกจำเลยก่อเหตุฆ่าผู้ตายหรือไม่ เห็นว่า ตามคำให้การของนายมงคล เบิกความว่า นายมงคล เป็นพนักงานรับผิดชอบด้านการเร่งรัดหนี้สินให้บริษัทของจำเลยที่ 5 จึงมีความสนิทกับจำเลยที่ 5 ระหว่างนั้นจำเลยที่ 5 ได้พยายามร้องขอให้นายมงคล วางแผนฆ่าผู้ตาย 3 ครั้ง แต่นายมงคล ปฏิเสธรับงาน แม้ว่าภายหลังนายมงคล จะกลับคำให้การ ว่าไม่เคยได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 5 ก็ตาม แต่ในคำให้การต่อเจ้าพนักงานสอบสวนเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุเพียง 18 วัน โดยการสอบสวนครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2540 นายมงคล ยังคงยืนยันตามคำให้การในครั้งแรก เชื่อว่าที่นายมงคล กลับคำให้การนั้นเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 5 ให้พ้นการความผิด ส่วน จ.ส.อ.เมตตา เบิกความว่า มีความสนิทสนมกับจำเลยที่ 5 ถึงขั้นได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้จัดการโรงเรียนโรจนเสรีนุสรณ์ ที่ผู้ตายร่วมกิจการอยู่ด้วย แต่ถูกผู้ถือหุ้นในส่วนของผู้ตายคัดค้าน ทำให้เกิดปมความขัดแย้งในการบริหารกิจการโรงเรียนขึ้น เห็นว่าเมื่อ จ.ส.อ.เมตตา มีความสนิทสนมกับจำเลยที่ 5 ย่อมรับรู้ปัญหาคับข้องใจ ที่จำเลยที่ 5 มาปรึกษา
จากพยานหลักฐานโจทก์ ยังพบประเด็นความขัดแย้งในเรื่องที่จำเลยที่ 5 อาศัยความเอ็นดู รักใคร่ของนางฉลวย มารดาผู้ตาย ฉ้อฉลในธุรกิจซื้อที่ดิน จนทำให้พี่น้องของผู้ตายไม่พอใจ นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งในเรื่องการซื้อขายหุ้นในบริษัท มิลเลี่ยน กรุ๊ป ทำธุรกิจซื้อขายรถยนต์ ที่ทำให้นางฉลวย สูญเสียเงินไปเกือบ 60 ล้านบาท ทำให้ผู้ตายถึงขั้นประกาศจะแฉถึงพฤติกรรมความฉ้อฉลของจำเลยที่ 5 ต่อสาธารณะ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 54 นำสืบมา ยังไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 5 มาอย่างละเอียดแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 , 4 และ 5 ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ลงโทษจำเลยที่ 2 และ ให้จำคุกตลอดชีวิต ส่วนส่วนจำเลยที่ 5 ลงโทษประหารชีวิต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว นายสุขุม ถึงกับน้ำตาซึม และได้โผเข้ากอดกับญาติๆ ที่ร่วมมาให้กำลังซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยความโศกเศร้า โดยกลุ่มญาติถึงกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ขณะที่ฝ่ายโจทก์ร่วม คงมีเพียงนายฉัตรมงคล ชาติพงศธร ทนายความเท่านั้นที่มาฟังคำพิพากษา
ทั้งนี้ นายฉัตรมงคล ชาติพงศธร ทนายความของโจทก์ร่วม กล่าวว่าขณะนี้ พล.อ.ต.สมิทธ และ นางฉลวย บิดา-มารดา พญ.นิชรี เสียชีวิตแล้ว ขณะที่คดีความที่มีการยื่นฟ้องนายสุขุม ยังมีคดีปลอมแปลงเอกสารการซื้อขายที่ดิน ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 8 ปี นายสุขุม คดียังอยู่ระหว่างฎีกา อย่างไรก็ดีสำหรับทรัพย์สินที่ถูกฉ้อฉลไปนั้น ได้ติดตามกลับคืนร่วม 30 ล้าน
นายศุภวิชญ์ กัณฑ์สุข ทีมทนายความจำเลย กล่าวว่า ส่วนของคดีถือว่าถึงที่สุดแล้ว หลังจากนั้นจะยื่นฎีกาขออภัยโทษซึ่งจะต้องดำเนินการภายใน 60 วัน โดยการยื่นฎีกาขออภัยโทษน่าจะทันภายในวันเฉลิม 5 ธันวาคมด้วย
ทั้งนี้ โดยคดีนี้ ฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 40 ระบุความผิดสรุปว่า ระหว่างวันที่ 15 - 25 ต.ค.39 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันจ้างวานใช้ให้จำเลยที่ 1,2 และ 4 ร่วมกันฆ่าผู้ตาย ด้วยค่าจ้างจำนวน 500,000 บาท กระทั่งวันที่ 25 ต.ค. 2539 เวลา 05.30 น. จำเลยที่ 1,2 และ 4 ร่วมกันใช้อาวุธปืนสั้นออโตเมติกไม่มีทะเบียนขนาด 11 ม.ม. พร้อมเครื่องกระสุนจำนวน 18 นัดของจำเลยที่ 3 ที่นำมาเพื่อไปใช้ยิง พญ.นิชรี จำนวน 5 นัด จนถึงแก่ความตายขณะขับรถยนต์ออกจากบ้านพักย่านห้วยขวาง สาเหตุมาจากจำเลยที่ 5 มีความขัดแย้งกับผู้ตายเกี่ยวกับเรื่องการบริหารโรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ เนื่องจากผู้ตาย สั่งปลดจำเลยที่ 5 ออกจากตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน กระทั่งเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกันทั้งในทางแพ่งและทางอาญาหลายคดี นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่แม่ผู้ตายถูกจำเลยที่ 5 หลอกลวงให้มอบเงินจำนวน 200 ล้านบาท ไปซื้อที่ดิน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เนื้อที่100 ไร่ เพื่อทำสนามกอล์ฟทั้งที่ผู้ตายและบิดาคัดค้าน รวมทั้งเรื่องการขัดธุรกิจบริษัท มิลเลียน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งค้าขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์มือสอง และรับทวงหนี้ จำเลยที่ 1 ,2 และ 4 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนแต่กลับให้การปฏิเสธในชั้นศาล ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2547 ว่า จำเลยที่ 1,2 และ 4 กระทำผิดหลายกรรม ให้ลงโทษทุกกรรมฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน และพรบ.อาวุธปืน พิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1 , 2 และ 4 แต่คำให้การ ในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1,2 และ4 ไว้ตลอดชีวิต ส่วนจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานจ้างวานใช้ให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามมาตรา 289 อนุ 4 ประกอบมาตรา 84เสมือนเป็นตัวการในการฆ่า ให้ลงโทษประหารชีวิตสถานเดียว ต่อมาจำเลยที่ 1 , 2 , 4 และ 5 อุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาเมื่อ 26 มิ.ย.52 พิพากษายืน ต่อมาจำเลยที่ 2,4 และ5 ยื่นฎีกาขอสู้คดีขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง ขณะที่จำเลยที่ 1 ขอรับโทษจำคุกตลอดชีวิตตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา โดยไม่ติดใจยื่นฎีกาทำให้คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่สุด ในขณะที่จำเลยที่ 3 เสียชีวิต ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลอาญาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 3 ออกจากสารบทความ
ศาลฎีกาประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ,4 และ5 ว่าจำเลยที่ 2,4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ร่วมกันฆ่าผู้ตายตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองหรือไม่เห็นว่า โจทก์มีพยานที่เป็นคนดูต้นทางให้แก่จำเลยที่ 1,2 และ4 ให้การยืนยันสอดคล้องกับคำให้การของจำเลยที่ 1,2 และ4 ที่ได้ให้การไว้ในชั้นสอสวน โดยมีการบันทึกภาพวิดีโอไว้เป็นหลักฐานด้วย ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ติดต่อให้ จำเลยที่ 1,2และ4 ร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยได้รับค่าจ้างคนละ 1 แสนบาท โดยจำเลยที่ 3 ได้รับค่าจ้างมาทั้งหมด 5 แสนบาท ขณะที่โจทก์ยังมีคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับชั้นผู้ใหญ่เบิกความสนับสนุน ซึ่งหากจำเลยที่ 1,2และ4 ไม่รับสารภาพ เจ้าหน้าที่ตำรวจคงไม่สามารถติดตามพยานที่เป็นคนดูต้นมาทางมาเป็นพยานได้ เพราะหลังจากคนดูต้นทางได้รับค่าจ้าง 5 หมื่นบาทแล้วได้หลบหนีไป โดยคำให้ของพยานที่เป็นคนดูต้นทางได้ให้รายละเอียดทั้งบุคคลที่ติดต่อ สถานที่ยานพาหนะที่ใช้ จึงเชื่อได้ว่าไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำให้จำเลยจำเลยที่ 1,2และ4 ได้รับโทษ ส่วนที่พวกจำเลยอ้างว่า ถูกทำร้ายร่างกายเพื่อให้รับสารภาพนั้น ศาลเห็นว่า ในวันแถลงข่าวการจับกุมมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ รวมถึงนายเสนาะ เทียนทอง รมว.มหาดไทย (ตำแหน่งในขณะนั้น) แถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชนจำนวนมาก จำเลยมีสิทธิ์ที่จะร้องเรียนหากถูกทำร้ายจริง ประกอบกับในชั้นฝากขังพวกจำเลยไม่ได้ให้การต่อศาลว่าถูกทำร้าย พวกจำเลยยังยอมรับในการตอบคำถามทนายความโจทก์ร่วมด้วยว่า ระหว่างถูกจับกุมมีแพทย์มาตรวจร่างกาย สอดคล้องกับรายงานการตรวจของแพทย์ที่ระบุว่าไม่มีบาดแผลแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นฟังไม่ขึ้น
ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 5 มีปัญญาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 5 จ้างวาน จ.ส.อ.เมตตา เต็มชำนาญ (ยศในขณะนั้น) และนายมงคล หรือ หมง นกทอง ให้ฆ่าผู้ตาย แล้ว จ.ส.อ.เมตตา และนายมงคล เป็นผู้ไปติดต่อให้จำเลยที่ 3 ไปจ้างวานให้พวกจำเลยก่อเหตุฆ่าผู้ตายหรือไม่ เห็นว่า ตามคำให้การของนายมงคล เบิกความว่า นายมงคล เป็นพนักงานรับผิดชอบด้านการเร่งรัดหนี้สินให้บริษัทของจำเลยที่ 5 จึงมีความสนิทกับจำเลยที่ 5 ระหว่างนั้นจำเลยที่ 5 ได้พยายามร้องขอให้นายมงคล วางแผนฆ่าผู้ตาย 3 ครั้ง แต่นายมงคล ปฏิเสธรับงาน แม้ว่าภายหลังนายมงคล จะกลับคำให้การ ว่าไม่เคยได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 5 ก็ตาม แต่ในคำให้การต่อเจ้าพนักงานสอบสวนเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุเพียง 18 วัน โดยการสอบสวนครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2540 นายมงคล ยังคงยืนยันตามคำให้การในครั้งแรก เชื่อว่าที่นายมงคล กลับคำให้การนั้นเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 5 ให้พ้นการความผิด ส่วน จ.ส.อ.เมตตา เบิกความว่า มีความสนิทสนมกับจำเลยที่ 5 ถึงขั้นได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้จัดการโรงเรียนโรจนเสรีนุสรณ์ ที่ผู้ตายร่วมกิจการอยู่ด้วย แต่ถูกผู้ถือหุ้นในส่วนของผู้ตายคัดค้าน ทำให้เกิดปมความขัดแย้งในการบริหารกิจการโรงเรียนขึ้น เห็นว่าเมื่อ จ.ส.อ.เมตตา มีความสนิทสนมกับจำเลยที่ 5 ย่อมรับรู้ปัญหาคับข้องใจ ที่จำเลยที่ 5 มาปรึกษา
จากพยานหลักฐานโจทก์ ยังพบประเด็นความขัดแย้งในเรื่องที่จำเลยที่ 5 อาศัยความเอ็นดู รักใคร่ของนางฉลวย มารดาผู้ตาย ฉ้อฉลในธุรกิจซื้อที่ดิน จนทำให้พี่น้องของผู้ตายไม่พอใจ นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งในเรื่องการซื้อขายหุ้นในบริษัท มิลเลี่ยน กรุ๊ป ทำธุรกิจซื้อขายรถยนต์ ที่ทำให้นางฉลวย สูญเสียเงินไปเกือบ 60 ล้านบาท ทำให้ผู้ตายถึงขั้นประกาศจะแฉถึงพฤติกรรมความฉ้อฉลของจำเลยที่ 5 ต่อสาธารณะ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 54 นำสืบมา ยังไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 5 มาอย่างละเอียดแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 , 4 และ 5 ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ลงโทษจำเลยที่ 2 และ ให้จำคุกตลอดชีวิต ส่วนส่วนจำเลยที่ 5 ลงโทษประหารชีวิต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว นายสุขุม ถึงกับน้ำตาซึม และได้โผเข้ากอดกับญาติๆ ที่ร่วมมาให้กำลังซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยความโศกเศร้า โดยกลุ่มญาติถึงกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ขณะที่ฝ่ายโจทก์ร่วม คงมีเพียงนายฉัตรมงคล ชาติพงศธร ทนายความเท่านั้นที่มาฟังคำพิพากษา
ทั้งนี้ นายฉัตรมงคล ชาติพงศธร ทนายความของโจทก์ร่วม กล่าวว่าขณะนี้ พล.อ.ต.สมิทธ และ นางฉลวย บิดา-มารดา พญ.นิชรี เสียชีวิตแล้ว ขณะที่คดีความที่มีการยื่นฟ้องนายสุขุม ยังมีคดีปลอมแปลงเอกสารการซื้อขายที่ดิน ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 8 ปี นายสุขุม คดียังอยู่ระหว่างฎีกา อย่างไรก็ดีสำหรับทรัพย์สินที่ถูกฉ้อฉลไปนั้น ได้ติดตามกลับคืนร่วม 30 ล้าน
นายศุภวิชญ์ กัณฑ์สุข ทีมทนายความจำเลย กล่าวว่า ส่วนของคดีถือว่าถึงที่สุดแล้ว หลังจากนั้นจะยื่นฎีกาขออภัยโทษซึ่งจะต้องดำเนินการภายใน 60 วัน โดยการยื่นฎีกาขออภัยโทษน่าจะทันภายในวันเฉลิม 5 ธันวาคมด้วย
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิต
นายสุขุม เชิดชื่น อดีต
ส.ว.ฐานใช้จ้างวานให้ผู้อื่นร่วมกันฆ่าแพทย์หญิงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน
นายสุขุม เชิดชื่น อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร เดินทางมาจากเรือนจำเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ร่วมกับ นายธนศักดิ์ ยิ้มดี นายสราวุธ ไชยสิงห์ และ นายวิเชียร กิตติธนากร เป็นจำเลยในความผิดฐานจ้าง วาน ใช้ และร่วมกันฆ่า แพทย์หญิงนิชรี มะกรสาร วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน และกระทำผิดพระราชบัญญัติอาวุธปืน การปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมแล้วเห็นว่าฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น เนื่องจากพยานหลักฐานทั้งหมดไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ คือประหารชีวิตนายสุขุม ส่วนจำเลยคนอื่นให้จำคุกตลอดชีวิต
คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2539 โดยนายสุขุม ได้ให้เงินนายวิเชียร จำนวน 500,000 บาท เพื่อจัดหาทีมมือปืนไปยิงแพทย์หญิงนิชรี จนเสียชีวิตขณะเดินทางออกจากบ้านพัก ย่านห้วยขวาง จากสาเหตุความขัดแย้งทางธุรกิจ โดยคดีนี้มีการต่อสู้คดีความมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ จนถึงศาลฎีกา ซึ่งทั้ง 3 ศาลได้พิพากษายืนให้ประหารชีวิต
นายสุขุม เชิดชื่น อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร เดินทางมาจากเรือนจำเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ร่วมกับ นายธนศักดิ์ ยิ้มดี นายสราวุธ ไชยสิงห์ และ นายวิเชียร กิตติธนากร เป็นจำเลยในความผิดฐานจ้าง วาน ใช้ และร่วมกันฆ่า แพทย์หญิงนิชรี มะกรสาร วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน และกระทำผิดพระราชบัญญัติอาวุธปืน การปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมแล้วเห็นว่าฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น เนื่องจากพยานหลักฐานทั้งหมดไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ คือประหารชีวิตนายสุขุม ส่วนจำเลยคนอื่นให้จำคุกตลอดชีวิต
คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2539 โดยนายสุขุม ได้ให้เงินนายวิเชียร จำนวน 500,000 บาท เพื่อจัดหาทีมมือปืนไปยิงแพทย์หญิงนิชรี จนเสียชีวิตขณะเดินทางออกจากบ้านพัก ย่านห้วยขวาง จากสาเหตุความขัดแย้งทางธุรกิจ โดยคดีนี้มีการต่อสู้คดีความมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ จนถึงศาลฎีกา ซึ่งทั้ง 3 ศาลได้พิพากษายืนให้ประหารชีวิต
0 comments:
Post a Comment