การอุทธรณ์ คือ การยื่นคำคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยการอ้างเหตุผล และข้อกฎหมายต่อ
ศาลอุทธรณ์(หรือศาลอุทธรณ์ภาค) ทั้งนี้เพื่อให้ศาลอุทธรณ์(หรือศาลอุทธรณ์ภาค) มีคำพิพากษาใหม่
หรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงผลคดีที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้
กำหนดระยะเวลาการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์
การยื่นอุทธรณ์จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๙ (รวมทั้งการยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ด้วย)
การนับระยะเวลา
การนับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ ให้นับแต่วันรุ่งขึ้นนับแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น
ภายในกำหนดหนึ่งเดือน แต่ถ้าเป็นการทำคำแก้อุทธรณ์ จะต้องทำคำแก้อุทธรณ์ภายใน ๑๕ วันนับตั้งแต่วันที่
ได้รับสำเนาอุทธรณ์ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์โดยการปิดหมายนั้น ระยะเวลาในการปิดหมาย ๑๕ วัน
และระยะเวลาในการแก้อุทธรณ์ ๑๕ วัน รวมเป็น ๓๐ วัน
ตัวอย่างการนับวันยื่นอุทธรณ์
๑.ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๙ ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙
๒.ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ ๓๐ หรือ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๙ ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์
๒๕๔๙ ถ้าในเดือนกุมภาพันธ์มี ๒๙ วันก็ยื่นได้ในวันที่ ๒๙ อันเป็นวันสุดท้ายของเดือน
๓.ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙
๔.ในกรณีวันสุดท้ายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้นั้นตรงกับวันหยุดราชการ ก็ให้ยื่นได้ในวันเปิดทำงานวันแรกได้อีก ๑ วัน
การขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์
การขอขยายเวลาในการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓
โดยคู่ความฝ่ายที่จะยื่นคำฟ้องดังกล่าว จะต้องทำเป็นคำร้องขอต่อศาลโดยศาลชั้นต้นเป็นผู้พิจารณาสั่ง
คำร้องขอขยายระยะเวลา
ที่มา : oknation
0 comments:
Post a Comment