Wednesday, October 31, 2012

โทษประหารชีวิต


song yong joon

Capital punishment or the death penalty, is the execution of a person by judicial process as a punishment for an offense. Crimes that can result in a death ...





capital punishment




เมื่อไม่กี่วันมานี้ หลายท่านพบข่าวการประหารชีวิตผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยการฉีดสารพิษเข้าร่างกายตาม ม.19 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และระเบียบของกระทรวงยุติธรรม ที่ได้แก้ไขและใช้มาเมื่อปี พ.ศ.2546 โทษประหารชีวิตเป็นโทษสูงสุดสำหรับผู้กระทำผิด การ ประหารชีวิต หลายท่านก็เห็นด้วย หลายท่านก็ไม่เห็นด้วย แตกต่างมุมมองและความคิด การประหารชีวิต ไม่ใช่เพิ่งมีในประเทศทั่วโลก เป็นเจตนาแท้ ๆ ที่ทำให้ตาย(ที่ถูกกฎหมาย)
การประหารชีวิตในประเทศไทย ที่ผ่านไป เกิดความสนใจขึ้นทั่วโลก เนื่องจากใกล้วันต่อต้านโทษการประหารชีวิต 10 ตุลาคม 2552  ใครจะว่าเป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปี ก็ช่าง


   


หากมุมมองของผม คิดว่าสมควรใช้กับการกระทำ พฤติการณ์ที่จะให้ตายตกไปตามกัน(สะใจดี) ในคดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ และเป็นที่สนใจสำหรับประชาชน ที่ผู้กระทำมีความโหดเหี้ยม ไร้ศีลธรรม หรือกระทำเยี่ยงสัตว์ และมนุษย์ที่ประเสริฐแล้วเขาไม่ทำกัน เป็นต้น ไม่ใช่ใช้กระทำ หรือตัดสินอย่างพร่ำเพรื่อ

ผมเชื่อว่าผู้พิพากษา หรือองค์คณะฯ ที่ตัดสินคดีดังกล่าว ก็เป็นมนุษย์ธรรมดานี่เอง (ที่ดี) คนหนึ่ง ย่อมนอนไม่หลับ และบางท่านอาจจดจำ ไม่มีวันลืมไปจนถึงวันสุดท้ายของตนเอง ก็เหมือนกับคนดี ๆ ทำบาป ที่สั่งฆ่ามนุษย์คนหนึ่ง ในทางศาสนาอาจเป็นเรื่องของเวรกรรม มีการจองเวรจองกรรมกันต่อไป และยังไงก็เป็นบาป ไม่มีบทยกเว้นในนรกภูมิ บางท่านอาจถือเป็นผลงานเด่น คุยได้ไม่จบ เพราะน้อยคนที่จะได้มีโอกาสวินิจฉัยพิพากษาให้เป็นอย่างนั้น (เหมือนหมอมีด/ผ่าตัด พวกนี้ชอบการกรีดผ่าตัดเย็บ ชอบเห็นอวัยวะภายใน และน้อยคนที่จะทำได้) หากมองอีกมุม ก็เป็นการผดุงความยุติธรรมในสังคม เพื่อคนส่วนรวม ส่วนใหญ่ และเป็นความผิดร้ายแรง ว่างั้นเถิด


หากไม่มีบทกำหนดโทษ ประหารชีวิตไว้ในกฎหมายแล้ว ผลจะเกิดอย่างไร? ไม่ สามารถลงโทษให้สาสมกับฐานความผิดที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยได้ก่อขึ้น เพราะไม่มีอำนาจตามกฎหมาย การฆ่าล้างแค้นจะเกิดมากเพิ่มขึ้นในสังคมไทย เพราะกฎหมายอ่อนแอ ผู้จะกระทำความผิดไม่เกรงกลัว ยำเกรงในกฎหมายบ้านเมือง ยอมติดคุก ติดคุกยังมีวันออก หรือติดแต่สบาย ขนาดมีตัวอย่างการประหารชีวิตให้เห็น สถิติการเกิดอาชญากรรมใกล้จะนับเป็นนาทีละกี่เรื่อง

การคงอยู่ของโทษประหารชีวิต จึงต้องอยู่บนหลักนิติธรรม ของบ้านเมืองเราชาวไทย ไม่ใช่ไปเดินตามก้น(ตูด) ของต่างประเทศ หรือไปยึดติดว่า เขามีเราก็มี เขาเลิกเราก็เลิก เช่น เขาเปลี่ยน จากแขวนคอ ตัดคอ เข้าห้องแก๊สพิษนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า ฯลฯ มาเป็นฉีดสารพิษเข้าร่างกาย ก็ต้องไปแก้ไขตามเขา อีกหน่อยเขาแก้ไข ให้กินยาตายเอง โดยไม่มีผู้ใดยัดป้อนเข้าปาก กระโดดตึกกระโดดน้ำตาย เราไม่ต้องไปเปลี่ยน แก้ไข ตามเขาหรือ? เหมือนเอาไว้อ้างในเวทีโลกว่า ที่โน่นก็ทำเหมือนกัน เป็นประเทศมหาอำนาจ มีความเจริญสุด ๆ


อีกมุมหนึ่ง พวกก่ออาชญากรรมร้ายแรง สะเทือนขวัญ เอากันจริง ๆ แล้ว สังคม(ในใจ)อยากให้ มันตายไป แต่พอศาลตัดสินลดโทษเหลือแค่จำคุกตลอดชีวิต เพราะรับสารภาพ หรือด้วยเหตุอันควรปราณีอื่นใด สังคมก็หาว่ากฎหมายอ่อน ไม่เด็ดขาด โจรผู้ร้ายถึงเต็มบ้าน เต็มเมือง สรุป โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง

แต่สำหรับคดีจำหน่ายยาเสพติดที่ศาล ตัดสินประหารชีวิตไปดังกล่าว ถือเป็นคดีที่ทำลาย ฆ่ามนุษยโลก ฆ่าเพื่อนร่วมชาติ บั่นทอนเศรษฐกิจ สังคม และชาติ บางคนว่ามันเป็นปลายเหตุเท่านั้น แม้จะเขียนเสือให้วัวกลัว ยาเสพติดไม่หมดไป เพราะประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง การตัดสินดังกล่าวจึงไม่เป็นที่น่าสนใจยอมรับเท่าที่ควร เพราะเป็นเชิงนามธรรม ไม่เหมือนกับคดีฆ่ายกครัว ฆ่าข่มขืนหญิง หรือเด็ก หรือที่ใครพบข่าวแล้วยังมีความโกรธแค้นเคืองแทน ตามนิสัยคนไทยเรา ที่น่าจะเป็นรูปธรรมมากเสียกว่าหรืออาจเป็นเพราะ มีคดีมากมาย ที่น่าสนใจในสังคมไทย ที่จำเลยรอดจากการถูกประหารชีวิต ทั้งที่สังคมอยากให้ตาย แต่ผิดหวัง ก็เป็นไปได้??????









คุก35ปี "สหายดุช" อดีตผู้นำเขมรแดง
     เมื่อวันที่ 26 ก.ค.53 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ศาลพิเศษคดีอาชญากรสงครามประเทศกัมพูชา ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสหประชาชาติ มีคำตัดสินจำคุกนายเคียง เกก เอียฟ หรือสหายดุช อดีตผู้นำเขมรแดงเป็นเวลา 35 ปี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อช่วงทศวรรษ 1970 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 2 ล้านคน
     ดุช วัย 67 ปี เป็นอดีตผู้นำเขมรแดงคนแรกจากทั้งหมด 5 คนที่เข้ารับการพิจารณาคดีสังหารชาวกัมพูชาจำนวนมากในช่วงที่เขมรแดงมีอำนาจ ส่วนอดีตผู้นำเขมรแดงอีก 4 รายคาดว่า จะเข้ารับฟังการตัดสินไม่เกินช่วงต้นปี 2555
     ทั้งนี้ กัมพูชาไม่มีโทษประหารชีวิตแต่อย่างใด


 




 












ข่าวที่ปรากฎ


"สำนักข่าวต่างประเทศทั้งเอพีและเอเอฟพี รายงานเมื่อ 28 ส.ค.52 ว่า สหภาพยุโรปกล่าวประณามไทย หลังเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ประหาร 2 นักโทษชายค้ายาเสพติด ได้แก่ นายบัณฑิต เจริญวานิช วัย 52 ปี และนายจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ วัย 45 ปี ที่เรือนจำบางขวาง จ.นนทบุรี ด้วยการฉีดยาพิษ เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา

ทางสวีเดน ซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนล่าสุดของสหภาพยุโรปออกแถลงการณ์ ว่า ทางกลุ่มรู้สึกเสียใจและไม่เห็นด้วยต่อโทษประหารชีวิต ไม่ว่าเนื่องมาจากสาเหตุใดก็ตาม และวอนให้รัฐบาลไทยยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพื่อรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของมนุษยชาติไว้

ขณะเดียวกัน องค์การนิรโทษกรรมสากลซึ่งเป็นกลุ่มสิทธิมนุษยชน มีสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ ก็ระบุว่า รัฐบาลไทยควรเอาเยี่ยงอย่างรัฐนิวเม็กซิโกของสหรัฐฯ รวมถึงประเทศโตโกและบุรุนดีในทวีปแอฟริกา ที่ยกเลิกการประหารชีวิตไปในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา และรัฐบาลควรจัดหารืออย่างเร่งด่วนเพื่อทบทวนมาตรการลงโทษดังกล่าว นอกจากนี้ยังเสริมว่า การที่รัฐบาลสั่งตัดสินประหารชีวิตเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีนั้น ทำให้ประเทศชาติล้าหลัง

ทั้งนี้ นักโทษชายที่ถูกประหารทั้งคู่ถูกตำรวจจับกุมเมื่อ 29 มี.ค. 2544 พร้อมของกลางยาบ้าจำนวน 114,219 เม็ด และถูกศาลอาญาพิพากษาโทษประหารชีวิต.           
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ให้สัมภาษณ์กรณีกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป(อียู) ต้องการให้ไทยยกเลิกโทษประหารว่า ทางยุโรปมีจุดยืนมานานแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิต ส่วนตัวเคยสอบถามประชาชนเห็นได้ชัดว่ายังมีความเห็นแตกต่างกันมากในเรื่อง นี้ ต้องใช้เวลากับสังคมว่าเรายอมรับได้หรือไม่ที่จะยกเลิก เพราะ ส่วนใหญ่ประเทศที่เจริญแล้วจะไม่มีโทษดังกล่าว ยกเว้น สหรัฐอเมริกา คนของเราจำนวนมากยังเชื่อว่าการมีโทษรุนแรงสามารถปรามไม่ให้คนทำผิดได้ เมื่อถามว่าต้องชี้แจงทางอียูหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่จำเป็นเพราะเขาก็รู้ว่าสหรัฐยังมีเรื่องนี้อยู่ เป็นเพียงเรื่องของคนที่มองว่าหลักสิทธิมนุษยชนหรือการอ้างอิงหลักศาสนา เมื่อถามว่าประเด็นนี้จะถูกนำไปเป็นเงื่อนไขกีดกันทางการค้าหรือไม่ นายกฯ ปฏิเสธว่า ไม่คิดว่าจะเป็นเงื่อนไขใดๆ
เพราะสหรัฐก็ยังมีโทษดัง กล่าว"




ผมว่า ยังไง ๆ  อเมริกาไม่มีทางยกเลิกโทษประหารชีวิต  
เพราะจะไม่สามารถจัดการ กับศัตรูก่อการร้าย ได้เลย?


เว็บไซท์ หนังสือพิมพ์ เดลี่ เมล ได้เผยแพร่ภาพที่แสดงให้เห็นระบบยุติธรรมที่เด็ดขาดของเยเมนจากการที่ชายคน หนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่า ข่มขืนและฆ่าเด็กชายวัย 11 ปี ได้ถูกนำตัวแห่ประจานไปทั่วบ้านเกิดของเขา ก่อนจะถูกเพชรฆาตประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าต่อหน้าฝูงชน  รายงาน ระบุว่า ฝูงชนหลายร้อยคนที่เรียงรายกันอยู่ตามถนน ต่างส่งเสียงร้องตะโกนประนามเยห์ยา ฮุสเซน อัล-รักห์วาห์ ผู้ต้องหาในคดีนี้ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเด็กชายเคราะห์ร้าย ที่มีชื่อว่าฮัมดี้ อัล-คาบาส ไปตัดผมที่ร้านของเขา เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ในระหว่างการสิ้นสุดเทศกาลถือศีลอด หรือ อิดิล ฟิตรี ซึ่งหลังจากทำร้ายเด็กชายอย่างโหดเหี้ยมแล้ว เขายังจัดการแยกชิ้นส่วนศพและเอาไปทิ้งนอกกรุงซาน่าอีกด้วย อีกหนึ่งเดือนต่อมา ศาลได้ตัดสินประหารชีวิตเขา หลังจากเขายอมรับสารภาพ

ภาพช่วง นาทีท้าย ๆ ของฆาตกรได้ถูกเผยแพร่ หลังจากเขาถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม โดยตอนแรกเขาได้ถูกนำตัวออกจากเรือนจำกลาง ในสภาพสวมกุญแจมือ และสวมเสื้อคลุมยาวสีขาว สีหน้าแสดงความหวาดกลัว มีทหารล้อมรอบขณะเดินผ่านฝูงชน เมื่อก้าวขึ้นไปบนพรมสีแดง เขาได้รับอนุญาตให้สวดภาวนาเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะถูกจับนอนคว่ำหน้าและถูกฉีกเสื้อด้านหลัง

ในขณะที่ ตำรวจอ่านคำตัดสินโทษของเขาเป็นครั้งสุดท้าย และแพทย์ได้เข้ามาตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย ท่ามกลางฝูงชนที่ส่งเสียงเชียร์ และมีบางคนใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกภาพเอาไว้ด้วย จากนั้นทหารที่รับหน้าที่เพชรฆาต ได้ใช้ปืนกลระดมยิงที่เข้าต้นคอของนักโทษ ทำให้ตัวเลขของนักโทษที่ถูกประหารชีวิตในเยเมนปีนี้ เพิ่มเป็น 9 คน

เยเมนเป็น 1 ใน 59 ประเทศ ที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต และใช้ทั้งกับคดีอาชญากรรมที่รุนแรงและไม่รุนแรง เช่น การคบชู้และการเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น เมื่อปีที่แล้ว มีนักโทษถูกประหารชีวิต 13 คน แต่ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการอาจสูงกว่านี้ ทั้งหมดเสียชีวิตจากการถูกยิงเป้า

แต่มี รายงานด้วยว่า ยังมีการประหารชีวิตด้วยการขว้างปาด้วยก้อนหินและการตัดศีรษะอยู่ด้วย ภายใต้กฎหมาย ชาเรีย หรือกฎหมายอิสลามที่เคร่งครัด ญาติของเหยื่อที่ถูกฆาตกรรมมีอำนาจในการให้ละเว้นโทษผู้กระทำผิด เพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าเสียหายก็ได้





24 ตุลาคม 2552


ผลของการลงโทษประหารชีวิตที่ มีต่อการป้องกันอาชญากรรม

1.1 คำกล่าวดังกล่าว ไม่เป็นจริง นั่นหมายถึง แม้ประมวลกฎหมายอาญาไทย มาตรา 18(1) จะกำหนดโทษสูงสุดของการกระทำความผิดไว้ ให้ประหารชีวิต ผู้กระทำผิด หรือจำเลย ก็ตาม แต่สถิติคดีอาญา โดยเฉพาะคดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้น ไม่ได้ลดน้อย หรือต่ำลงกว่าสถิติของปีที่ผ่าน ๆ มา มีแต่จะเพิ่มเกิดสูงมากขึ้น และระบบศาลของไทย ประกอบกับสังคมไทยเป็นสังคมเมืองพุทธ มีกฎหมายกำหนดให้สามารถลดหย่อนผ่อนโทษจากหนักเป็นเบา เช่น ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี หรือไม่เคยต้องโทษคดีอาญามาก่อน เคยทำคุณงามความดีให้กับสังคม ประเทศชาติ นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติ มิให้นำบทบัญญัติโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตมาใช้บังคับกับผู้กระทำผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และให้เปลี่ยนเป็นโทษจำคุก 50 ปีแทน  หรือเมื่อศาลตัดสินถึงที่สุดให้ลงโทษประหารชีวิต ก็ยังสามารถยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตได้อีก เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดโทษประหารชีวิต คงจะยกเลิกไม่ได้ และต้องยังคงไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แม้นานาประเทศทั่วโลกจะยกเลิกโทษประหาร ชีวิตแล้วก็ตาม  โดยมองว่า โทษประหารชีวิต ไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง แต่ควรจะทำอย่างไร ไม่ให้คนกระทำความผิดรุนแรง ในรณรงค์ให้การศึกษา เชิงป้องกันมากกว่า การลงโทษดังกล่าว

1.2 กรณีใช้โทษจำคุก กำหนดไว้ใน (2) ของ มาตรา 18 ป.อาญา เช่นกัน การใช้โทษจำคุก มีผลต่อการป้องกันอาชญากรรมได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่สามารถป้องกันได้อย่างสิ้นเชิง ปัจจุบัน การก่ออาชญากรรม เกิดขึ้นทุกวัน ข้อมูลจากเรือนจำทุกแห่ง แทบจะกล่าวได้ว่า ตัวอาคารสถานที่ไม่สามารถรองรับปริมาณผู้ต้องขัง(ระหว่างการพิจารณาคดี)  และผู้ต้องโทษ(ที่ถูกตัดสินพิพากษา) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมไทย จนรวยน้อย คนจนมาก ภาวะการว่างงาน ตกงาน ทำให้มีผู้กระทำผิดเกิดมากขึ้น ทั้งที่เป็นอาชญากรโดยสันดาน และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ได้กระทำความผิดขึ้นแล้ว โดยเฉพาะปัจจุบัน อาชญากร ที่เป็นเด็ก เยาวชน เกิดขึ้นจำนวนมาก ถูกจับเข้าสถานพินิจ สืบเสาะ คุมประพฤติ ผู้ปกครองรับตัวกลับไป และก่อเหตุซ้ำซากขึ้นอีก จนเป็นผู้ใหญ่ก็กระทำผิดอีก ย้ายจากสถานพินิจคุ้มครองเด็กไปเรือนจำแทน


นอกจากนี้ อัตราโทษจำคุกของระบบศาลไทย อาจกล่าวได้ว่า ไม่เด็ดขาด หรือทำให้เข็ดหลาบ เพราะเหตุผลตามข้อ 1.1 กล่าวคือ หากจะเลยให้การรับสารภาพ เป็นเด็ก ไม่เคยต้องโทษคดีอาญามาก่อน ก็จะได้รับการพิจารณาลดโทษ การรอการกำหนดโทษ หรือรอลงอาญา เป็นต้น  จนเป็นคำกล่าวที่ว่า "ติดคุก ยังมีวันออก" เข้าไปถูกขังรับโทษในเรือนจำ ก็มีการพิจารณา เป็นนักโทษชั้นดี มีการพักการลงโทษ หรือพ้นโทษก่อนกำหนดได้ เป็นต้น จึงทำให้มองและพิจารณาถึงระบบ ศาลและราชทัณฑ์ หากไม่มีความเด็ดขาดเข้มแข็งแล้ว ประกอบกับข้อกำหนดพิเศษของกฎหมายในเรื่องการลดโทษ การรอกรลงโทษด้วยแล้ว จะทำให้ไม่สามารถป้องกันอาชญากรรมในสังคมไทยเราได้
เพราะความจริงแล้ว ระบบการป้องกันอาชญากรรม จะต้องเข้มข้น มีประสิทธิภาพหรือ มีประสิทธิผล จากการป้องกันระงับอาชญากรรม ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอันดับแรก ทำอย่างไร ไม่ให้เกิดเหตุ หรืออาชญากรรมในสังคมมากกว่า โดยเน้นระบบสายตรวจ รวมทั้งการรณรงค์ขอความร่วมมือจากประชาชนในการแจ้งเบาะแส การช่วยเหลือตัวเองประกอบ ซึ่งน่าจะทำให้สถิติคดีอาญากรรมลดน้อยลง หรือคนร้ายไม่กล้าก่อเหตุนั่นเอง




 บีบีซีรายงานวันที่ 17 มิ.ย.53 ว่า ทางการรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา ประเดิมใช้วิธีการยิงเป้าประหารนักโทษ แม้จะมีเสียงทักท้วง วิงวอน รวมถึงคำวิจารณ์ว่า วิธีการดังกล่าวป่าเถื่อนและย้อนยุคกลับไปสมัยคาวบอย ที่อเมริกายังเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน

นักโทษที่ถูกประหารในครั้งนี้ มีชื่อว่า นายรอนนี่ ลี การ์ดเนอร์ วัย 49 ปี ติดคุกมานาน 25 ปีจากการต้องโทษประหารชีวิตในความผิดฆาตกรรมซ้อน โดยระหว่างถูกดำเนินคดีฆาตกรรมเหยื่อรายแรกในปี 2527 ก็ยิงสังหารนายไมเคิล เบอร์เดลล์ ทนาย ระหว่างพยายามหลบหนีออกจากศาลในปี 2528 โดยเป็นนักโทษรายที่ 3 ที่ถูกประหารชีวิตด้วยวิธีนี้ในสหรัฐ นับจากปี 2519 โดยรัฐยูทาห์เคยตัดสินให้วิธีการยิงเป้าเป็นวิธีนอกกฎหมายเมื่อปี 2547 แต่ไม่มีผลย้อนหลังในคดีของการ์ดเนอร์ แม้ว่าญาติของนายเบอร์เดลล์จะช่วยขอร้องด้วย เพราะนายเบอร์เดลล์เป็นผู้ที่ต่อต้านการประหารชีวิต

การจัดประหาร ชีวิตมีขึ้นที่เรือนจำแห่งรัฐยูทาห์ ในเมืองแดร็ปเปอร์ ชานเมืองซอลต์ เลก ซิตี้ หลังช่วงเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่น ใช้เจ้าหน้าที่ 5 นายที่เป็นตำรวจอาสาสมัครยิงนักโทษที่หัวใจพร้อมกัน ปืนที่ใช้เป็นไรเฟิล ส่วนกระสุน 4 นัดเป็นกระสุนจริง นัดที่ 5 เป็นกระสุนเปล่า ส่วนนายการ์ดเนอร์ถูกจับใส่ผ้าคลุมศีรษะและถูกมัดติดกับเก้าอี้เหล็กสีดำ มีเป้ายิงสีขาวติดอยู่ที่หน้าอก ตำแหน่งตรงหัวใจ ระยะการยิงอยู่ห่าง 7.6 เมตร เมื่อเจ้าหน้าที่ถามนายการ์ดเนอร์ว่า มีอะไรจะพูดเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่ นักโทษประหารกล่าวว่า "ผมไม่มี ไม่" จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงยิง และนายโธมัส แพตเตอร์สัน ผู้อำนวยการราชทัณฑ์ประกาศว่า นักโทษการ์ดเนอร์เสียชีวิตใน 2 นาทีหลังจากถูกยิง

"นี่เป็นภารกิจที่ไม่ปกติ แต่เราก็ดำเนินการไปอย่างมืออาชีพ ทำไปโดยให้เกียรติและเคารพชีวิตมนุษย์อย่างที่สุด ถือเป็นการกระทำที่สมควรสำหรับครอบครัวผู้เป็นที่รักและเสียชีวิตและครอบ ครัว" แพตเตอร์สันกล่าว


 เด ลี่เมล์รายงานวันที่ 31 พ.ค.54 ว่า สาวมุสลิมวัย 19 ปี ในยูเครนถูกรุมปาหินดับอนาถในการรับโทษประหารชีวิตตามกฎหมายอิสลาม หลังจากไปประกวดเวทีนางงามในเมืองซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับกลุ่มมุสลิม สายเคร่งในหมู่บ้าน

สาวน้อยชะตาขาดมีชื่อว่า คัตยา โคเร็น หายตัวไปจากบ้านในแคว้น ครีเมีย หนึ่งสัปดาห์ต่อมามีคนพบร่างที่บอบช้ำถูกฝังอยู่ในป่าใกล้บ้าน เพื่อนเผยว่า คัตยาชอบสวมเสื้อผ้าแฟชั่นและเพิ่งไปประกวดนางงามมา

ตำรวจจับกุมผู้ ต้องสงสัยไว้ได้ 3 คน ซึ่งยืนกรานว่า หญิงสาวสมควรตายแล้วตามกฎหมายอิสลาม นายบีฮัล กาเซียฟ อายุ 16 ปี หนึ่งใน ผู้ต้องหาให้การว่า คัตยาละเมิดกฎหมายอิสลาม ตนไม่เสียใจที่คัตยาตาย

การปาหินเป็นโทษ ประหารที่ชาวมุสลิมมีความเห็นไม่ลงรอยกัน บางกลุ่มสนับสนุน แต่บางกลุ่มคัดค้าน แต่หลายประเทศทั้งอิหร่าน ไนจีเรีย และปากีสถานยังใช้อยู่ ซึ่งอิหร่านมีโทษปาหินสำหรับคดีชู้สาวเท่านั้น โดยมีผู้หญิงอย่างน้อย 10 คน และผู้ชาย 4 คน ที่จะต้องรับโทษภายในสิ้นปีนี้

ประชาคม โลกเริ่มให้ความสนใจและต่อต้านโทษประหารด้วยการปาหินจากกรณีของนางซากิเนห์ อัชเตียนา ถูกศาลอิหร่านตัดสินประหารจากคดีชู้สาว ซึ่งนางอัชเตียนาต้องทนทุกข์ทรมานถูกสามีขี้ยาซ้อมมานานหลายปีอีกทั้งถูก บังคับให้ขายบริการกระทั่งทนไม่ไหวร่วมมือกับชู้สังหารสามี เบื้องต้นนางอัชเตียนาถูกจำคุก 10 ปี และถูกตัดสินประหารด้วยการปาหิน แต่ศาลอิหร่านระงับการลงโทษไว้ ภายหลังจากที่ถูกสังคมโลกประณาม

ครับ ความป่าเถื่อนยังมีอยู่ในโลกใบนี้  

  

10 ต.ค.2554

 นางแคทเธอรีน แอชตัน ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรป (อียู)และนายธอร์บยอร์น แจ็คแลน เลขาธิการสภายุโรป ได้ออกแถลงการณ์ร่วม เนื่องในวันต่อต้านโทษประหารชีวิตยุโรปและสากลวันที่ 10 ต.ค. โดยย้ำจุดยืนร่วมกัน ในการต่อต้านโทษประหารชีวิต และความมุ่งมั่นในการล้มเลิกโทษประหารชีวิตในทั่วโลก
       "พวกเราตระหนักว่า การลงโทษประหารชีวิต เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักมนุษยธรรม และเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ประสบการณ์ในอดีตของยุโรป เป็นข้อคิดที่สอนให้พวกเรารู้ว่า การมีโทษประหารชีวิต ไม่ได้ช่วยให้อัตราการเกิดอาชญากรรมร้ายแรงลดลง อีกทั้งยังไม่ได้ช่วยให้ความยุติธรรมใดๆ แก่เหยื่ออาชญากรรมเหล่านั้น อีกทั้ง การลงโทษประหารใดๆ อันเป็นผลมาจากการตัดสินที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งไม่มีระบบกฎหมายใดๆ สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของมนุษย์คนหนึ่งๆไป โดยไม่สามารถเรียกกลับมาได้" แถลงการณ์ร่วมของอียู ระบุ
         ตั้งแต่พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ไม่มีการลงโทษโดยใช้วิธีการประหารชีวิตขึ้นอีกเลย  ภายในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกอียู
         แถลงการณ์อียู ฉบับนี้  ยังประณามการใช้โทษประหารในเบลารุส ซึ่งเป็นเพียงประเทศเดียวในทวีปยุโรป  ที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิตอยู่ และพยายามกระตุ้นให้เบลารุส  เริ่มต้นจากการหยุดตัดสินโทษผู้กระทำผิดด้วยโทษประหารชั่วคราวก่อน ด้วยความหวังว่าในที่สุด จะนำไปสู่การล้มเลิกโทษประหารชีวิตแบบถาวร
         แถลงการณ์อียู ฉบับนี้ ระบุด้วยว่า มีความยินดีต่อมติของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ให้หยุดใช้โทษประหารชั่วคราวทั่วโลก พร้อมกับวิสัยทัศน์ที่จะให้มีการล้มเลิกโทษประหารชีวิตอย่างถาวร ซึ่งมตินี้  ได้รับการสนับสนุน และร่วมมือในหลายประเทศ ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก
          อย่างไรก็ตาม  การสนับสนุน ที่เพิ่มมากขึ้นต่อมติของยูเอ็น ในปีพ.ศ. 2550  2551 และ2553 เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันได้ว่า นานาชาติ มีแนวโน้มที่จะต่อต้านโทษประหารชีวิตเพิ่มมากขึ้น แต่แม้ว่าในปัจจุบัน จำนวนประเทศ ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว จะมีเพิ่มขึ้น คือ เพิ่มจาก 55 ประเทศ เป็น 97 ประเทศ ในระหว่างปีพ.ศ. 2536-2552 แต่ไม่อาจมองข้ามได้ว่า ยังคงมีอีก 58 ประเทศ  ที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่


 

14 ธ.ค.2554

หญิงสาววัย 25 ปี "เหอซุยหลิง" ก็เหมือนกับสาวชาวชนบทจีนส่วนใหญ่ ที่เติบโตมาท่ามกลางความยากจนแร้นแค้น มีชีวิตอยู่อย่างลำบาก สุดท้ายก็ตกไปสู่วังวนของแก๊งยาเสพติด โดยซุยหลิง ถูกแฟนหนุ่มบังคับให้ขนเฮโรอีนไปส่งลูกค้า ก่อนถูกตำรวจจับกุมด้วยข้อหาค้ายาเสพติด ซึ่งตามกฎหมายจีน คดียาเสพติดถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ต้องโทษถึงประหารชีวิต!

หากจะ กล่าวว่า ชะตาชีวิตของซุยหลิง ก็ไม่ต่างจากผู้ต้องคดียาเสพติดส่วนใหญ่บนแผ่นดินจีน ก็คงจะไม่ผิดนัก ทว่าเรื่องราวของเธอกลับโด่งดังบนโลก อินเตอร์เน็ต เนื่องจากซุยหลิงเอ่ยปากขอ "เสื้อสีดำ" จากพัสดีหญิง ด้วยเหตุผลว่าเธอสวมใส่แล้วดูไม่อ้วน ตอนตายจะได้ดูสวย

นอกจากนั้น ภาพที่แพร่กระจายอยู่ในเน็ตยังปรากฏภาพที่ซุยหลิงได้กินอาหารมื้อสุดท้าย เป็นบะหมี่กับขนมหวาน พร้อมกับหัวเราะอย่างอารมณ์ดีเป็นครั้งสุดท้าย เผยให้เห็นใบหน้า อันไร้เดียงสาของเด็กสาวชนบทจากหมู่บ้านเซียนเถา ชุมชนเล็กๆ ในมณฑล หูเป่ยของจีน

ก่อนที่ภาพต่อมาจะเป็นภาพเธอเดิน ก้มหน้าร้องไห้ เพื่อเข้าสู่ลานประหารพร้อมกับนักโทษรายอื่นๆ

เหตุการณ์ ทั้งหมดเป็นบันทึก 10 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนการประหารชีวิตที่เรือนจำหญิงอู่ฮั่น ทางภาคกลางของประเทศ โดยเป็นเรื่องที่เกิดเมื่อปี 2546 ต่อมามีผู้นำเรื่องทั้งหมดมาโพสต์ลงในเว็บไซต์ จนเป็นที่ฮือฮาในสังคมจีน

จาก บันทึกเรื่องราวของซุยหลิง เผยว่า หญิงสาวเชื่อมาตลอดว่าหากยอมรับผิดก็จะได้รับโทษสถานเบา ซึ่งซุยหลิงก็ทำตามนั้น พร้อมกล่าวกับผู้พิพากษาว่า "ได้โปรดให้โอกาสครั้งที่สอง ฉันอยากมีชีวิตอยู่ ฉันยังอายุน้อยอยู่เลย"

ก่อน หน้านี้ การพิจารณาคดีของซุยหลิงใช้เวลาเพียงแค่ 9 เดือน ซึ่งระหว่างนั้น หญิงสาวเชื่อมั่นว่าตนน่าจะได้รับโทษจำคุก 15 ปี "ฉันคงมีอายุราว 40 ปีตอนออกจากคุก" ซุยหลิง กล่าวกับเพื่อนนักโทษ

แต่ศาลจีนมอบโทษตาย แก่เธอด้วยวิธียิงเป้า

หลังจากยอมรับในชะตากรรมของตัวเอง ซุยหลิงเขียนจดหมายร่ำลาเพื่อมอบให้กับพ่อและแม่

"พ่อแม่สอนลูกมา ตลอดว่าให้ทำตัวให้ดี แต่ไม่นึกเลยว่าจะต้องมารับโทษหนักขนาดนี้ ลูกแค่อยากหาเงินส่งทางบ้านเยอะๆ เท่านั้นเอง"

ด้าน หยาง ยู่หง ช่างภาพผู้บันทึกเหตุการณ์ก่อนการประหารกล่าวว่า หญิงสาวดูผ่อนคลายมาก เพราะทั้งเพื่อนนักโทษตลอดจนผู้คุมหญิงต่างเห็นเธอเป็นเพื่อนที่อยู่ด้วยกัน มานาน จึงช่วยกันหาเสื้อผ้าสีดำปักลายสวยมาให้ใส่ และช่วยกันปลอบใจซุยหลิงด้วย

แต่พอทั้งหมดถูกนำตัวไปยังลานประหาร บรรยากาศก็เปลี่ยนไปทันที โดยใบหน้าของหญิงสาวเต็มไปด้วยน้ำตา

ยู่ หงกล่าวด้วยว่า รายงานข่าวของตน ชิ้นนี้ ถูกปฏิเสธจากหนังสือพิมพ์ต้นสังกัดซึ่งไม่ยอมให้ตีพิมพ์ เกรงว่าจะขัดแย้งกับรัฐบาลในสมัยนั้น ก่อนที่เว็บไซต์ของสำนักข่าวโทรทัศน์ในฮ่องกงจะนำมาเผยแพร่เมื่อต้นเดือนธ .ค. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ รายละเอียดของคดี ตลอดจนเรื่องราวชีวิตของซุยหลิง ได้จุดประเด็นถกเถียงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกรณีที่ระบบยุติธรรมจีนทำให้เกิดนักโทษที่รอการประหารชีวิตมากกว่า ทั้งโลกรวมกันด้วยซ้ำ

ปัจจุบัน กระทู้บนอินเตอร์เน็ตเรื่องของซุยหลิง มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเกิน 3,000 คนแล้ว ส่วนใหญ่โจมตีการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ

มีรายหนึ่ง ระบุว่า "สิ่งที่หญิงคนนี้ทำ เทียบไม่ได้กับการคอร์รัปชั่น ของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งสมควรถูกยิงเป้าแทนซุยหลิงด้วยซ้ำ"

0 comments:

Post a Comment