Wednesday, October 31, 2012

กุดหัว-ยิงเป้า โทษประหารชีวิต

  กุดหัว-ยิงเป้า โทษประหารชีวิต



ภาพจาก www.manager.co.th 


--->ตำรวจ หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายเรียกชื่อตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจบ้าน ตำรวจกองปราบ ตำรวจดับเพลิง ตำรวจน้ำ ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้

*แปลก จริง ทำไมไม่มีคำว่าตำรวจฆาตกรนะ*

--->ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ, นักรบ

*แต่ นักรบที่เห็นวันนี้ คือ นักรบมือตบ ที่อาวุธคู่กายไม่สามารถใช้สังหารใครได้ ส่วนทหาร เห็นไปยืนอยู่ข้างหลังผู้สั่งฆ่าประชาชน ภาพนั้นทำให้นายทหารผู้รักเกียรติศักดิ์แห่งนักรบไทยเกิดความอดสูใจ เหตุที่ทราบความรู้สึกของนายทหารบางท่านเพราะบังเอิญมีโอกาสได้คุยกับนาย ทหารท่านนั้น (ไม่สามารถเอ่ยนามได้)

---> นักโทษ หมายถึง บุคคลซึ่งถูกลงโทษจําคุก

--->จำ คุก หมายถึง โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขังไว้ในเรือนจำ

*ใน พจนานุกรมไม่ได้บอกไว้ว่า นักโทษที่หนีการจำคุกนั้น เรียกว่าอะไร*

---> ผู้ร้าย หมายถึง โจร, อาชญากร

---> อาชญากร หมายถึง ผู้ก่ออาชญากรรม, ผู้กระทําความผิดที่เป็นคดีอาญา

--->โจร หมายถึง ผู้ร้ายที่ลักขโมยหรือปล้นสะดมทรัพย์สินผู้อื่นเป็นต้น

--->ฆาตกร หมายถึง ผู้ฆ่าคน

---> ฆาตกรรม หมายถึง การฆ่าคน


ตามพจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า ตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดกฎหมาย พจนานุกรมฯไม่ได้บอกวิธีการปราบปรามของตำรวจ ว่าต้องปราบปรามอย่างไร...? ต้องไปดูในรัฐธรรมนูญฉบับที่ฆาตกรพยายามจะเปลี่ยนแปลงความผิดให้กลายเป็น ความถูกต้องนั่นแหละ

การลงโทษจำคุกสำหรับบุคคลธรรมดา เมื่อศาลตัดสินลงโทษ ต้องได้รับการจับกุมคุมขังทันที แต่การลงโทษจำคุกสำหรับบุคคลผู้ที่เคยมีตำแหน่งทางการเมืองระดับประเทศกลับ ทำได้ยากกว่า มิหนำซ้ำ ยังมีความพยายามที่จะให้นักโทษได้ออกหน้าออกตา ออกข่าวเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตัวเองเพื่อเรียกความรัก ความสงสารกลับคืน เพื่อทำสิ่งผิดให้กลายเป็นถูก

หลาย คนสงสัย ฉันเองก็สงสัยว่า แล้วโทษการจาบจ้วงหมิ่นเบื้องสูงล่ะ จะทำอย่างไร...?
ทำไม...? ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจึงได้ละเลยที่จะเอาโทษบุคคลเหล่านี้ ทั้งๆที่มีหลักฐาน ภาพ เสียง ที่บังอาจอย่างชัดเจน หากพฤติกรรมจาบจ้วงหมิ่นเบื้องสูงเกิดขึ้นในสมัยโบราณ รับรองว่ามันไม่สามารถอยู่รอดมาจนถึงวันนี้ได้และโทษสถานเดียวที่มันบังอาจ คือ โทษประหารชีวิต

คำสุดท้ายที่ฉันสงสัยใคร่รู้ก็คือ คำว่า ประหารชีวิต ซึ่งมีความหมายว่า โทษทางอาญาขั้นสูงสุดที่ลงแก่ผู้กระทําความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ วิธีประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา คือ การเอาตัวผู้ต้องโทษประหารชีวิตไปยิงเสียให้ตาย

การยิง หรือที่เรียกว่า ยิงเป้า คือวิธีการลงโทษประหารชีวิตในปัจจุบัน แต่ถ้าเป็นโทษประหารชีวิตของผู้กระทำผิดอาญาอุกฉกรรจ์ คือ การตัดคอโดยเพชฌฆาต


ภาพเหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบระยะเวลาแน่นอน)

โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษ ที่รุนแรงที่สุดที่ใช้ต่อผู้กระทำความผิด ถือเป็นการลงโทษที่เก่าแก่ที่สุด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายของการประหารชีวิตคือ การกำจัดผู้กระทำผิดให้พ้นไปจากสังคมด้วยวิธีการฆ่า ในสมัยโบราณเรียกการลงโทษประหาร ว่า"กุดหัว"โดยใช้ดาบฟัน ที่คอนักโทษเด็ดขาด
ภาพเหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบระยะเวลาแน่นอน)

ดาบที่ใช้ในการประหารชีวิตนั้นมีรูป ร่างต่างกันครูเพชฌฆาตเป็นผู้จัด ทำดาบขึ้น มีดาบปลายแหลม ดาบปลายตัด และดาบหัวปลาไหล การประหารชีวิตครั้งใดจะใช้ดาบชนิดใด ให้อยู่ในดุลพินิจของครูเพชฌฆาต

เพชฌฆาต ผู้ทำหน้าที่ประหารชีวิตมี ๓ คนคือ ดาบที่หนึ่ง และตัวสำรองอีก ๒ คน เรียกว่า ดาบสอง และ ดาบสาม ถ้าดาบหนึ่งฟันคอไม่ขาด ดาบสองจะต้องซ้ำ ถ้ายังไม่ขาดดาบสามก็ต้องเชือดให้ขาด 

พิธีการประหารชีวิตด้วยดาบจะมีวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้ และพิธีทางไสยศาสตร์หลายอย่าง เช่นมีสายมงคลล้อม รอบบริเวณประหารกันผีตายโหงจะเฮี้ยน การตัดสายมงคลต้องใช้มีดโดยเฉพาะ จะใช้ของอื่นไม่ได้ เป็นต้น 

ภาพ เหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบเวลาแน่นอน)

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น การประหาร ชีวิตนักโทษด้วยดาบมักทำพิธีกันที่วัด โดยคุมตัวผู้ต้องโทษประหาร เดินทางโดยทางเรือออกจากคุกในลักษณะจองจำครบ ๕ ประการ โดยสรุปขั้นตอนการประหารชีวิตด้วยดาบ ดังนี้ 

๑. เมื่อลูกขุน ณ ศาลาลูกขุน ณ ศาลหลวง วางโทษประหารชีวิต ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประหารชีวิต

ภาพเหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบเวลาแน่นอน)

๒. ก่อนจะนำตัวไปประหารชีวิต จะต้องถูกเฆี่ยน ๓ ยกๆละ ๓๐ ที รวม ๙๐ ที 

๓. จัดอาหารคาวหวานมื้อสุดท้ายให้นักโทษกินก่อนประหาร และนิมนต์พระมาเทศน์ให้ฟัง 

๔. นักโทษประหารถูกจับนั่งมัดกับหลักไม้กางเขนแบบกาจับหลัก 


ภาพเหตุการณ์ลงโทษประหารชีวิต เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี (ไม่ทราบเวลาแน่นอน)

๕. เพชฌฆาตเอาดินเหนียวอุดหู อุดปาก และแปะไว้ที่ต้นคอนักโทษ เพื่อกำหนดตรงที่จะฟันจาก นั้นเพชฌฆาตดาบสองจะร่ายรำไปมา เพื่อรอจังหวะให้จิตนักโทษสงบ พร้อมกับเพชฌฆาตดาบหนึ่งลงดาบ ฟันคอทันที

๖. เมื่อประหารแล้ว เจ้าหน้าที่จะตัดส้นเท้า เพื่อถอดตรวนออกแล้วสับร่างกายหรือแล่เนื้อให้ทานแก่แร้งกา

๗. เอาหัวเสียบประจาน



ยิ ง เ ป้ า

ปัจจุบันการลงโทษประหารชีวิตผู้กระทำผิดได้ เปลี่ยนจากการประหารชีวิตด้วยดาบมาเป็นการ ประหารชีวิตด้วยปืน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นต้นมา เรียกว่า การยิง เป้า

วิธีการประหารชีวิตจะเริ่ม ขึ้นโดยเจ้าหน้าที่อ่านคำสั่งศาลและฎีกาทูลเกล้าซึ่งพระเจ้าอยู่หัวพระราช ทานฯ คืนมาให้ผู้ต้องโทษฟังและลงชื่อรับทราบ ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนประวัติให้ถูก ต้องและอนุญาตให้ ผู้ต้องโทษจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการจำเป็นอื่นใดเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วจึงให้ผู้ต้องโทษฟังเทศน์จากพระภิกษุสงฆ์หรือนักพรตในนิกายศาสนาที่ผู้ ต้องโทษเลื่อมใสแล้วให้รับประทานอาหาร เป็นมื้อสุดท้าย

จากนั้นนำผู้ต้องโทษเข้าสู่หลักประหารซึ่งเป็น ลักษณะเป็นไม้กางเขนมีความสูงขนาดไหล่ โดยผู้ต้อง โทษจะถูกมัดด้วยด้ายดิบ ให้ยืนหันหน้าเข้าหลักประหารซึ่งมีไม้นั่งคร่อม ป้องกันมิให้ผู้ต้องโทษยืนตัวงอ หรือเข่าอ่อน ข้อมือทั้งสองผูกมัดติดกับหลักประหารในลักษณะประนมมือ กำดอกไม้ธูปเทียนไว้ เจ้าหน้าที่ นำฉากประหารซึ่งมีเป้าวงกลมติดอยู่กับฉาก ตั้งเล็งให้เป้าอยู่ตรงจุดกลางหัวใจของผู้ต้องโทษ ห่างจากด้านหลังผู้ต้องโทษประมาณ ๑ ฟุต เพื่อกำบังมิให้เจ้าหน้าที่ผู้ลั่นไกปืนเห็นตัวผู้ต้องโทษ

แท่น ปืนประหารตั้งห่างจากฉากประหารประมาณ ๔ เมตร เมื่อพร้อมแล้วเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณ โดยโบกธงสีแดง ผู้ทำหน้าที่ลั่น ไกปืน คณะกรรมการประหารชีวิตร่วมกันตรวจสอบจนแน่ใจว่านักโทษถึงแก่ความตายอย่างแท้ จริง จากนั้น เจ้าหน้าที่จะจัดพิมพ์ลายนิ้วนักโทษประหารเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อยืนยันว่า ไม่ประหารชีวิตผิดตัว

ภาพจาก www.manager.co.th


0 comments:

Post a Comment